สิทธิทางการศึกษาของพระสงฆ์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • พระณัฐวุฒิ พันทะลี -

คำสำคัญ:

สิทธิทางการศึกษา, พระสงฆ์ไทย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิทธิทางการศึกษาของพระสงฆ์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาของพระสงฆ์ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้กล่าวไว้โดยรวมตามมาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันและมาตรา 27 วรรคสอง การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้พระสงฆ์มีสภาพเป็นบุคคล จึงหมายความว่าพระสงฆ์ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาและพระสงฆ์ย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอนเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น พระสงฆ์จึงไม่ถูกจำกัดสิทธิโดยกฎหมายและไม่อยู่ในข่ายแห่งเงื่อนไขแห่งการจำกัดสิทธิและเสรีภาพได้ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พระสงฆ์จะมีสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษา ซึ่งหลักการนี้ยังได้รับการยอมรับและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของนานาอารยประเทศประชาธิปไตยที่ถือเป็นหลักพื้นฐานประการหนึ่งในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรมและในการนี้พระสงฆ์ก็เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความแตกต่างจากบุคคลกลุ่มอื่นทางกายภาพ มีสถานภาพการเกิดตามพระธรรมวินัยประกอบกับต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีความเชื่อทางศาสนาที่มีหลักปฏิบัติเป็นการเฉพาะ แต่ความแตกต่างนั้นก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จึงไม่ควรถูกแบ่งแยกออกจากสังคมมนุษย์และควรได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560

References

กีรวุฒิ กิติยาดิศัย. (2556). สิทธิเสรีภาพของพระภิกษุสงฆ์หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 1 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, หน้า 4.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2553). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,หน้า 509.

พระสุริโย รุ่งเรือง และ ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). บริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม, 2561 หน้า 101-115.

ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2556). สิทธิในสุขภาวะ. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน, 2556 หน้า 28-40.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2545). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2558). การพัฒนาการศึกษาคณะสงฆ์ไทย. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/sankha/prasong_education.php, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นจากhttps://www.senate.go.th/assets/portals/13/files/, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567.

สุภาพร มากแจ้ง และ สมปอง มากแจ้ง. (2542). การศึกษาสภาพการจัดการคณะสงฆ์. รายงานการวิจัย.กรมการศาสนา. กระทรวงศึกษาธิการ,หน้า 196.

แสง จันทร์งาม. (2556). พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์. สืบค้นจาก https://www.thammapedia.com/detail/14295, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19