การเปรียบเทียบความสามารถในด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร

ผู้แต่ง

  • สิทธิชน พิกุล -

คำสำคัญ:

ความสามารถ, การอ่าน, การอ่านเชิงวิเคราะห์, ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ตำบลหนองกุงสวรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 11 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) แบบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สถิติที่ใช้  ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร หลังการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (μ = 19.91 )  สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ (μ = 13.82 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( μ= 4.72 ).

References

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์. (2562). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้เน้นภาระงานและการโค้ช. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2549). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรณ เห็มบาสัตย์. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์บทประพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ CIRC. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธาราทิพย์ คำจันทร์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ศิลปะกับเครื่องแต่งกาย ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

ปัทมา นพรัตน์. (2556). E-learning ทางเลือกให้ของการศึกษา. สืบค้นจาก

http://jfklib.oas.psu.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=1189770,

สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566

พันทิวา ทับภูมี. (2561). “การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา 000101 มนุษย์

กับสังคม สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น โดยใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อออนไลน์ โปรแกรม Edmodo”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน. กรุงเทพ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับด้าน : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2 ณ ห้องประชุมเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2 (ส่วน 2) วันที่ 21 พฤษภาคม

พ.ศ. 2556.

อมรรัตน์ เจริญศิลป์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยเรียนแบบร่วมมือเทคนิค JIGSAW กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรุณลักษณ์ พันธุชิน. (2564). การนำการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมาใช้พัฒนาความสามารถทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Strayer, J.F. (2007) The Effects of the Classroom Flip on the Learning Environment: A Comparison of Learning Activity in a Traditional Classroom and a Flip Classroom That Used an Intelligent Tutoring System. Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of The Ohio State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19