แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • Parichat Jongphuakklang -

คำสำคัญ:

การพัฒนา, องค์กรแห่งการเรียนรู้, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2  2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูจำนวน 257 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การประเมินความต้องการจำเป็น ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีการดำเนินการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.16) และให้มีการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.61) 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดมี 3 ด้านได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (PNIModified=0.11) ด้านการมีแบบแผนความคิด (PNIModified=0.11) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (PNIModified=0.11) รองลงมาคือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (PNIModified=0.10) และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (PNIModified=0.09) และ 3) แนวทางพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ผู้บริหารควรสื่อสาร สร้างบรรยากาศ จัดสรรเวลา และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ครูได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง สู่การเป็นวัฒนธรรมองค์กร

References

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทองเพียร เตยหอม. (2562). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นิสรา ใจซื่อ. (2564). แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับความ เปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564, หน้า 126-135.

มาริษา พลวงศ์ษา, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และจารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชติภาคย์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 46 พฤษภาคม-มิถุนายน 2565, หน้า 162-178.

รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วีรภัทร รักชนบท. (2561). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2565. ปทุมธานี: กลุ่มแผนงาน.

สุนทรีย์ ธิชากรณ์. (2563). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม:ตักศิลาการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถวุฒิ สนธิสินธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ของกระบวนการด้านการจัดการความรู้กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เทศบาลตำบลเชิงทะเล จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Chanani, U.L. & Wibowo, U.B. (2019). A Learning Culture and ContinuousLearning for a Learning Organization. KnE Social Sciences, 3(17), p. 591–598.

Senge, P.M. (1990). The fifth discipline: the art and practice of the learning organization. New York: Currency Doubleday.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19