การบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นผู้บริหารและครู ยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • Manasawin Pobsuk -

คำสำคัญ:

การบริหาร, การจัดการเรียนรู้, ครูพระสอนศีลธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม   ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test independent) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD

               ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.27) เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทบทวนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ( 𝑥̅= 4.30)รองลงมา คือ ด้านการบูรณาการหลักธรรมกับชีวิตประจําวัน ( 𝑥̅= 4.29) ด้านการวางแผนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 𝑥̅= 4.27) และด้านการจัดกิจกรรมทําสมาธิให้กับผู้เรียน ( 𝑥̅= 4.23) และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา ในภาพรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมและรายด้าน ยกเว้นด้านการจัดกิจกรรมทําสมาธิให้กับผู้เรียน

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระครูวรดิตถานุยุต. (2554). ความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชัยสฤษดิ์ นริสฺสโร. (2556). การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมวัดดาวคะนอง เขตนนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดอนุวัฒน์ อนาวิโล. (2560). ผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุฒิพันธุ์ จนฺทวํโส (จุลคณานุกิจ). (2564). บทบาทของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมหมาย สิริภทฺโท. (2562). ประสิทธิผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุศาสตร์ อาภากโร. (2555). การมีส่วนรวมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนธยมศึกษา อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS(ฉบับปรับปรุง ครั้งที่3).กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). วิถีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: ส. เจริญการพิมพ์.จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (2566). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา2566. สุพรรณบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม. (2565). คู่มืออบรมพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจําปี 2565. นครปฐม : สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19