การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วย โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การประยุกต์, หลักอริยสัจ 4, การเตรียมตัวก่อนตายบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมตัวก่อนตายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายโรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาหลักอริยสัจ 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเน้นศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ ตำรางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงในภาคปฏิบัติ และทบทวนเอกสารแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุป และนำเสนอเชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมตัวก่อนตายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายโรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นการเตรียมตัวผู้ป่วยใน 3 มิติ คือ (1) ด้านร่างกาย โดยการเข้าใจกระบวนการักษาแบบประคับประคอง (2) ด้านจิตใจและจิตวิญญาณ โดยการเข้าใจกระบวนการยอมรับข้อเท็จจริงของชีวิต และ(3) ด้านสังคม โดยการเข้าใจบริบท ซึ่งมีครอบครัวและสิ่งแวดล้อม อยู่ในกระบวนการบทบาทของทีมการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล จึงเป็นความหวังสุดท้ายของชีวิต ในการบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ 2) หลักอริยสัจ 4 เป็นกระบวนการแก้ปัญหาดับทุกข์ที่แท้จริง ได้แก่ ทุกข์(รู้ปัญหา) สมุทัย(รู้สาเหตุ) นิโรธ(รู้เป้าหมาย) มรรค (รู้วิธีการ) และ3) การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นผลทำให้ผู้ป่วยรู้มิติของชีวิตและความเจ็บป่วย เข้าใจชีวิตและยอมรับความตายได้ตามความเป็นจริง โดยวาระสุดท้ายของชีวิตมี 4 ขั้นตอน คือ (1) กระบวนการสร้างความเข้าใจความจริง (2) กระบวนการสร้างการยอมรับ (3) การปรับสมดุลชีวิต และ (4) การปล่อยวางอย่างเข้าใจ.
References
กาญจนา จิตต์วัฒน์. (2553). การบูรณาการการเตรียมตัวตายในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับวัชรยาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 3
กัญญ์ฐิตา ศรีภา. (2554). ประสบการณ์ใกล้ตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 19 ฉบับที่ 4ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554, หน้า 83 -94
จอห์น แมคคอลแนล. (2556). เผชิญความตายอย่างสงบ “รู้ไว้ใช่ว่า”. เครือข่ายพุทธิกา, จดหมาย ข่าวอาทิตย์อัสดง, ปีที่ 6 ฉบับที่ 19 มกราคม-มีนาคม 2557สืบค้นจาก https://www.budnet.org, สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563.
บุษยามาส ชีวสกุลยง. (2551). แบบประเมินระดับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ฉบับสวนดอก. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หน้า 1-8
ประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2563). วิธีการเผชิญความตายและรูปแบบการเตรียมตัวตาย สำหรับผู้ สูงวัยตามหลักพระพุทธศาสนา, วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม 2563, หน้า 196-212
พระมหาบัวพันธ์ ฉนฺทโสภโณ(ประสังคะโท). (2553). ศึกษาการเตรียมตัวตายตามหลักมรณานุสสติในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท การเตรียมตัวตายอย่างสงบตามหลักพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2553). เผชิญความตายอย่างสงบ 1 .(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:เครือข่ายพุทธิกา, หน้า 1
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรังปรุงและขยายความ. (พิมพ์ ครั้งที่ 52). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 846- 849.
รัชฎาพร แนบเนียด.(2564). ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ. วารสารโรงพยาบาลนครพนม ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2564 ,หน้า 65-77.
รัตนพงษ์ ก๋องตา. (2548). การเตรียมตัวตายอย่างสงบตามหลักพุทธธรรม. สาระนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2555). เอกสารการอบรมวิชาการ Basic Palliative Care for Nurses: หน่วยการุณรักษ์, โรงพยาบาลศรีนครินทร์, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สายสิริ อิสรชาญวาณชย์, (2559). ตายดี เตรียมได้. เรียบเรียงจากการวางแผนการดูแลในระยะท้ายของชีวิตล่วงหน้า (Advance Care Planning), โครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.2557-2559. ชั้น 2 อาคาร 10 ชั้น เลขที่126/146 ภายในสถาบันบำราศนราดูร, นนทบุรี, หน้า 9
สมรักษ์ เจียมธีรสกุล และ จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์. (2562). การสื่อสารเพื่อการเตรียมตัวตายใน ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 3
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.