พลเมืองดิจิทัลกับมิติด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม

Main Article Content

พัณนิดา อุปหนอง
อังคณา อ่อนธานี
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมของพลเมืองท่ามกลางยุคดิจิทัลนั้นต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตทุกมิติทั้งในโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริงที่เชื่อมโยงมนุษย์ให้มีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้สถานภาพของมนุษย์ต่อการเป็นสมาชิกของสังคมไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะความเป็นพลเมืองที่ถูกแบ่งตามเส้นเขตแดนของแต่ละประเทศ หรือคนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภายใต้  การปกครองเดียวกันและมีวัฒนธรรมเดียวกันเท่านั้นแต่ได้ขยายขอบเขตสู่ “ความเป็นพลเมืองดิจิทัล” (Digital Citizenship) ซึ่งต้องเป็นผู้ที่คำนึงถึงบรรทัดฐานของพฤติกรรมอันถูกต้องและเหมาะสมเมื่อใช้เทคโนโลยี ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมของพลเมือง จึงเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงเป็นต้องรู้จักใช้ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม อินเทอร์เน็ตเป็นได้ทั้งเครื่องมือในการเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตในการรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนออกกฎหมาย การลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ (E-Voting) หรือการยื่นคำร้องออนไลน์ (Online Petition) จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าทุกสรรพสิ่งบนอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดชุมชนโลกเสมือนจริง เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ ส่งผลให้มนุษย์ได้ก้าวเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ทางเทคโนโลยี (New Technological Paradigm) อันมีผล ทำให้พฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ.

คุณาธิป จำปานิล. (2563, มกราคม - มิถุนายน). แนวทางการสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 116–127.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี.

นลินี ทองประเสริฐ. (2555, กรกฎาคม - ธันวาคม). บทบาทของสังคมออนไลน์ต่อสำนึกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(31), 65–76.

นิชคุณ ตุวพลางกูร. (2561, มกราคม - เมษายน). การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านการเมืองในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษาการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และการต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์. วารสารศาสตร์, 11(1), 93–94.

นุกูล ชิ้นฟัก, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, อับดุลเราะมัน มอลอ, และสามารถ วราดิศัย. (2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารทางการเมืองและการตัดสินใจเลือกตั้งของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 วันที่ 12 – 13 กรกฎาคม 2562 (หน้า 921 – 929). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0 (การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์เครื่องหมายการค้าชื่อการค้า ชื่อตราผลิตภัณฑ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: อมรินท์ฮาวทู.

มานิจ สุขสมจิตร. (2558, เมษายน). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปเป็นอย่างไร, 1(7), 9 - 14.

รัฐกร ชนะวงศ์. (2563). ประชาธิปไตยดิจิทัลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง. สืบค้น กุมภาพันธ์ 2, 2564, จาก http://www.polsci.tu.ac.th/direk/view.aspx?id=478.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วรรณากร พรประเสริฐ, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, ปกรณ์ ประจัญบาน, และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2563, กรกฎาคม - กันยายน). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 217 – 234.

วีระ เลิศสมพร. (2563). ประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิกส์: เสริมสร้างหรือฉุดรั้ง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7(1), 138–160.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554-2556. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ: อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

อนุรัตน์ อนันทนาธร, เอกวิทย์ มณีธร, และธีระ กุลสวัสดิ์. (2555, พฤษภาคม - สิงหาคม). แบบจำลองความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา สถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 4(2), 233–258.

อุมาภรณ์ บุพไชย. (2561, พฤษภาคม - สิงหาคม). การพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ: บทบาทของสื่อออนไลน์ในการประสานการมีส่วนร่วมในงานผังเมือง. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 3113 – 3130.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 12, 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/ content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir.

Gerodimos, R. (2005, November - December). Democracy and the Internet: Access, Engagement and Deliberation. Systematics, Cybernatics and Informatics, 3(6), 26-31.

Hale, M., Musso, J., & Weare, C. (1999). Developing Digital Democracy: Evidence form Californaian Municipal Web Pages. In B.N. Hague & B.D.Loader (Eds.), Digital Democracy: Discourse and Decision Making in The Information Age. London: Routledge.

International Society for Technology in Education. (2016). Digital Citizenship. Retrieved February, 2021, from https://www.iste.org/learn/digital-citizenship.

Kenneth L. Hacker., & Dijk, J.V. (2000). Digital Democracy Issues of Theory and Practice. London: SAGE Publications.

Mouffe, C. (2005). On the Political. Abingdon: Routledge.

Netsafe New Zealand. (2015). Digital Citizenship on New Zealand School; Overview. Retrieved February 12, 2021, from https://netsafe.org.nz/wp-content/uploads/2015/09/Digital_Citizenship_in_New_Zealand_Schools_Overview.pdf.

Papacharissi, Z. A. (2010). A Private Sphere: Democracy in a Digital Age. London: Cambridge Polity Press.

Ribble. (2011). Digital Citizenship in School (2nd Ed). Eugene, Oregon: The International Society for Technology in Education.

Rogow. (2002). ABCs of Media Literacy: What Can Pre-Schooolers Learn?. Retrieved February 2, 2021, from http://www.medialit.org/reading-room/abcs-media-literacy-what-can-pre-schooolers-learn.

Single Gateway. (2558). แจงแค่ศึกษา “ซิงเกิล เกตเวย์”. Retrieved February 12, 2021, from https://thaipublica.org/jabted_issue/%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95/.

Winston, D. (2004). Digital Democracy and the New Age of Reason. in Henry Jenkins and David Thorburn (eds.), Democracy and New Media, Cambridge: MIT Press.