Causal Factors of Accounting Information Systems Influencing the Quality of Financial Statement of Small and Medium Enterprises in Bangkok
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักบัญชีผู้ที่ปฏิบัติงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณสำหรับการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี มีด้านการเข้าใจได้ ตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีสาระสำคัญต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน การสนับสนุนของผู้บริหาร คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีสาระสำคัญต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน โครงสร้างองค์กร ขณะเดียวกันตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีสาระสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหาร และคุณภาพของระบบสารสนเทศการบัญชี ด้านความเชื่อถือได้ ตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีสาระสำคัญต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานโครงสร้างองค์กร ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีสาระสำคัญต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ได้แก่ คุณลักษณะเฉพะของผู้ใช้งาน การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน คุณภาพของระบบสารสนเทศการบัญชีและลักษณะของปัญหา ด้านการทันต่อเวลา ตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีสาระสำคัญต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน โครงสร้างองค์กร ขณะเดียวกันตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีสาระสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหารและคุณภาพของระบบสารสนเทศการบัญชี 2. คุณภาพของรายงานทางการเงิน มีประสิทธิภาพของความถูกต้องแม่นยำ ความเชื่อถือได้ ความตรงต่อเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นรายงานที่โปร่งใสมีคุณภาพและช่วยเพิ่มการมีอิทธิพลในทิศทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพขององค์กร จะส่งผลด้านการดำเนินงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการบัญชี ที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล ต่อปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อรับรู้ความสะดวกต่อการใช้งาน รับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับและทัศนคติที่ดี
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). DBD Data Warehouse (คลังข้อมูลธุรกิจ). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563. จาก www.datawarehouse.db.go.th
กรมสรรพากร. (2553). เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ SMEs. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563. จาก www.rd.go.th
จุฑามาศ ชัยศิริถาวรกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์บัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนัญชกร แดงสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ระบบผู้บริหารทรัพย์องค์กร(ERP) กับประสิทธิภาพรายงานทางการเงินและบัญชี กรณีศึกษามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563. จาก www.dspace.spu. ac.th/bitstream/123 456789/5172/1/65 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ระบบบริหารทรัพยากรองค์การ%20%28ERP%29%20กับประสิทธิภาพรายงาน.pdf
นฤมล พรหมจักร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงินและประสิทธิภาพการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน (AIA). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(3). 59-74.
วรรณวิมล ศรีหิรัญ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารบริษัทในตลาดหลักทรัพย์. โครงการวิจัยคณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วัชธนพงศ์ ยอดราช. (2557). ประสิทธิผลของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. คณะบัญชี : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563. จาก www.tfac.or.th
อุบลวรรณ ขุนทอง, ศิริเดช คำสุพรหม, นพพร ศรีวรวิไล. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการใช้ระบบ ERP ทางด้านบัญชีและการเงิน ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักบัญชีและนักการเงิน และส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กรธุรกิจไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28(86). 295-321.