แผนธุรกิจเพื่อจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนธุรกิจนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ผลจากงานวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory) แสดงให้เห็นถึงนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยมากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่เดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัว และรถนำเที่ยวนอกจากนี้ยังพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวิวทิวทัศน์ของจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด โดยยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายในระดับ 10,001 บาทขึ้นไป และมีเวลพำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เฉลี่ย 3.13 วัน
แผนการตลาด ผู้ศึกษาได้กำหนดทิศทางและแนวทางการตลาด ประกอบด้วย 7 P’s ได้แก่โปรแกรมนำเที่ยวราคา ช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด พนักงาน กระบวนการให้บริการ และสิ่งที่ช่วยให้เข้าถึงความมีคุณภาพ รวมทั้งกำหนดกลไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ในแผน โดยใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นความต้องการของลูกค้า (Customize) กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาจากกรุงเทพมหานคร และนักท่องเที่ยวชาวไทยจากจังหวัดในภาคเหนือเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง แผนการบริการ เน้นการให้บริการโปรแกรมนำเที่ยวแบบแพ็คเกจเหมาจ่าย และนักท่องเที่ยวสามารถจัดโปรแกรมท่องเที่ยวได้เองโดยบริษัทนำเที่ยวให้ข้อมูล และมีพนักงานขายเป็นผู้ทำโปรแกรมและคิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า มีการตรวจสอบกระบวนการให้บริการทุกขั้นตอน
แผนองค์กรและการจัดการ บริษัทกำหนดให้มีพนักงาน 5 ตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้จัดการ บุ๊คกิ้ง โอเปอเรชั่น ฝ่ายส่งเสริมการขาย และฝ่ายสนับสนุน ทั้งนี้แต่ละฝ่ายสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้ และมีการจ้างพนักงานชั่วคราวเสริมในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว โดยมีการวางระบบการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
แผนการเงิน กิจการนี้ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 403,500 บาท เป็นส่วนของเจ้าของ 223,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 55.39 และเงินกู้ระยะสั้น 180,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.61 โครงการสามารถชำระคืนเงินกู้ได้ทั้งหมดเมื่อครบปีที่ 5 ระยะเวลาคืนทุน 7 เดือน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) คิดเป็นร้อยละ 273 และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ อัตราร้อยละ 6.5 (Net Present Value) 4,714,026.79 บาท
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.