Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

หลักเกณฑ์และวิธีการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัยในวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 

รูปแบบและคำแนะนำสำหรับผู้เขียน

            วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ( Al-Hikmah Journal of Fatoni University) เป็นวารสารตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณประโยชน์ ที่ได้รวบรวมผลงานวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งจัดตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือนต่อฉบับ

            บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ จะต้องเป็นวารสารที่ไม่เคยเผยแพร่และตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ มาก่อน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน บทความดังกล่าวต้องชี้แจงให้กับกองบรรณาธิการวารสาร เพื่อพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำการประเมินบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสาขาชำนาญการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ

 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์

            รับตีพิมพ์ผลงานทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษามลายูญาวี และภาษามลายูรูมี ต้นฉบับต้องพิมพ์ในกระดาษ ขนาด A4 พิมพ์ 2 คอลัมน์ ยกเว้นบทคัดย่อพิมพ์แบบหน้าเดียว ซึ่งการเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละภาษาดังนี้

หน้ากระดาษ           

1.หน้ากระดาษบนมีความกว้าง 3.81 เซนติเมตร

2.หน้ากระดาษล่างมีความกว้าง 3.05 เซนติเมตร

3.หน้ากระดาษซ้ายและขวามีควกว้าง 2.54 เซนติเมตร

4.ความกว้างของคอลัมน์เท่ากัน 7.71 เซนติเมตร มีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.51 เซนติเมตร

การใช้ตัวอักษร

1.ภาษาไทย  ใช้อักษร TH SarabunPSK  ขนาด 15 พ.

2.ภาษาอังกฤษ กับ ภาษามลายูรูมี  ใช้อักษร TH SarabunPSK  ขนาด 15 พ.

3.ภาษาอาหรับ ใช้อักษร Traditional Arabic  ขนาด 16 พ.

4.ภาษามลายูญาวี ใช้อักษร Adnan Jawi Traditional Arabic  ขนาด 16 พ.

ประเภทของบทความ

            1.บทความวิชาการ (Article)  ประมาณ 8-10 หน้า ต่อบทความ

            2.บทความวิจัย (Research)  ประมาณ 6-8   หน้า ต่อบทความ

            3.บทความปริทรรศน์ (Review Article) ประมาณ 6-8   หน้า ต่อบทความ

            4.บทวิพาทย์หนังสือ (Book Review) ประมาณ 3-4   หน้า ต่อบทความ

ชื่อเรื่อง

            ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความ

ชื่อผู้เขียน

1.ชื่อเต็ม-นามสกุลของผู้เขียนครบทุกคนตามภาษาที่เขียนบทความ และต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษเสมอ

2.ผู้เขียนหลักต้องใส่ที่อยู่ให้ละเอียดตามแบบฟอร์มที่สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารจัดเตรียม

3.ให้ผู้เขียนทุกคนระบุวุฒิการศึกษาที่จบ ณ ปัจจุบัน (ถ้ามีตำแหน่งทางวิชาการให้ระบุด้านชำนาญการ) พร้อมตำแหน่งงานและสถานที่ทำงานปัจจุบัน สังกัด หน่วยงาน เป็นต้น

บทคัดย่อ

            1.จะปรากฏนำหน้าตัวเรื่อง ทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาที่เขียน และบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษเสมอ มีความยาระหว่าง 200 ถึง 250 คำ จะต้องพิมพ์แบบหน้าเดียว

คำสำคัญ

            ให้มีระบุคำสำคัญท้ายบทคัดย่อไม่เกิน 5 คำ ทั้งที่เป็นภาษาที่เขียนบทความ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

รูปภาพ

            ให้จัดรูปภาพ ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้รูปภาพจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ

ตาราง

            ให้จัดตาราง ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้ตารางจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ และให้ระบุลำดับที่ของตาราง พร้อมรายละเอียดต่างๆ ของตาราง

เอกสารอ้างอิง

            1.ให้ระบุเอกสารอ้างอิงตามที่ได้ค้นคว้าวิจัยในบทความเท่านั้น เพื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้อง

            2.ต้องจัดเรียงลำดับตามตัวอักษรนำ ของแต่ละบทความนั้นๆ

            3.การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความต้องอ้างอิงแบบนามปีเท่านั้น (ให้ระบุ ชื่อผู้แต่ง, ปี: หน้า) ยกเว้นคำอธิบายคำสามารถทำในรูปแบบของเชิงอรรถได้ และให้อ้างอิงตามรูปแบดังนี้

(1) หนังสือ

มัสลัน มาหะมะ. 2550. ลุกมานสอนลูก: บทเรียนและแนวปฏิบัติ. ยะลา. วิทยาลัยอิสลามยะลา

Best, John W. 1981. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey:  Prentice. Hall Inc. 

(2) บทความ

วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ. 2010. “กระบวนการดำรงอัตลักษณ์มุสลิม”, อัล-นูร. ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม-ธันวาคม) หน้า 55-66

(3) สารอิเล็กทรอนิกส์

อัล บุนยาน. 2552. มุ่งมั่นสู่การปฏิรูปตนเองและเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่นสู่การยอมจำนงต่ออัลลอฮฺ. จากอินเตอร์เน็ต.

            http://www.iqraforum.com/oldforum1/ www.iqraonline.org/ (ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2552). 

การส่งต้นฉบับ

ส่งต้นฉบับสำเนา 3 ชุด และแผ่นข้อมูลลง CD 1 แผ่น ส่งมายัง หรือในระบบออนไลน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/about/submissions

สำนักวิจัยและบริการวิชาการ วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตึกบัณฑิตวิทยาลัย

เลขที่ 135/8 หมู่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง

จังหวัดปัตตานี 94160 หรือ ตู้ปณ. 142 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 

Tel. (073) 418611-4 / Fax. (073) 418615-6