กระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทย ที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ

Authors

  • อัจฉรา ชลายนนาวิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กีรติกา กีรติพงษ์ไพศาล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ

Keywords:

ค้ามนุษย์, การคุ้มครองสิทธิ์, การพิทักษ์สิทธิ์

Abstract

วิจัยเรื่องกระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทยที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทยที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ โดยทำการศึกษาในกลุ่มเป้าหมายโดย ดำเนินการคัดเลือกจากกลุ่ม 1) ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นการค้ามนุษย์ 2) ตัวแทนผู้บริหารหน่วยงานและองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ 3) กลุ่มเครือข่ายหญิงไทยที่ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทยที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ จำนวน 15 – 25 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทยที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศที่สำคัญคือ 1) การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายต้องมองควบคู่ไปกับความรุนแรงในครอบครัว 2) การเสนอรูปแบบการให้ความช่วยเหลือจากลุ่มที่ไม่เป็นทางการ 3) การสร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงกับองค์กรต่างประเทศ 4) การนำเสนอสื่อในเชิงรุก 5) การขจัดความไม่รู้ 6) การเพิ่มแนวทางความช่วยเหลือออนไลน์และวัดไทยในยุโรป

References

Commission, E. (2016). Together against trafficking in human. English: EU.

Finckenauer, J., & Schrock, J. (2006). Human trafflicking a growing criminal market in the US. USA: OJP.

Germany, A. (ธันวาคม 2560). สัมภาษณ์กลุ่ม. เยอรมัน: เยอรมัน.

IOM. ( ธันวาคม 2016). ศูนย์ IOM . นอร์เวย์: นอร์เวย์.

Nations, U. (2014). Human Rights and human Trafficking. New York: United Nations.

Non-Discrimination, C. o. (2014). Prostitution, trafficking and modern slavery in Europe. Portugal: Council of Europe.
Policize. (ธันวาคม 2560). ประชุมกลุ่ม Policize. เยอรมัน: เยอรมัน.

United Nation Office for Drung and Crime Prevent. (1999). Handbook on Justice for Victims: On the Use and Application of the Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power. New York: United Nation.

พิศแสนสุวรรณ, ร., แผนสมบุญ, พ., & กิตติโสภโณ, ม. (2561). ค่านิยมการสมรสข้ามวัฒนธรรม กรณีศึกษาผู้หญิงไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สมาคมสตรีไทยในนอร์เวย์. (ธันวาคม 2560). สัมภาษณ์เชิงลึกสมาคมสตรีไทยในนอร์เวย์. นอร์เวย์: นอร์เวย์.

สมาคมหญิงไทยในฝรั่งเศส. (ธันวาคม 2560). สมาคมหญิงไทยในฝรั่งเศส. ฝรั่งเศส: ฝรั่งเศส.

สสว. (ธันวาคม 2560). สัมภาษณ์เชิงลึก สสว. ประเทศไทย: ประเทศไทย.

องค์กรธารา. ( ธันวาคม 2017). ประชุมกลุ่มองค์กรธารา. เยอรมัน: เจ้าหน้าที่องค์กรธารา.

Downloads

Published

2019-12-29

How to Cite

ชลายนนาวิน อ., & กีรติพงษ์ไพศาล ก. (2019). กระบวนการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับกลุ่มหญิงไทย ที่ตกเป็นผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ. Al-HIKMAH Journal, 9(18), 131–145. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/143689