Multicultural Leadership and Academic Administration of School Administrators under the Yala Primary Educational Service Area Office
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา (2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา (3) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา (4) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา (5) หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ (6) ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2563 จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ การเปรียบเทียบพหุคูณโดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมกับการบริหารงานวิชาการผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิง พหุวัฒนธรรมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา โดยภาพรวมมี ความสัมพันธ์กัน 5. ข้อเสนอแนะด้านภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารควรมีความมั่นใจในการพูด พูดอย่างมีประสิทธิภาพและตรงประเด็น ควรส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีให้กับครูและบุคลากร ส่วนด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารควรร่วมวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน ควรปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบท
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำ; ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรม; การบริหารงานวิชาการ
Abstract
The objectives of this research were (1) to study the level of multicultural leadership management under Yala Primary Educational Service Area Office (2) to study the level of academic administration of educational institution administrators (3) to compare leadership multicultural perspectives of school administrators with gender, age, educational level work experience and size of educational institutions (4) to compare academic administration of educational institution administrators with gender, age, educational level work experience and size of educational institutions (5) to find the relationship between multicultural leadership and academic administration of educational institution administrators (6) to compile recommendations on multicultural leadership and academic administration of administrators academy under the provincial primary education service area office. The sample used in this research consisted teachers under the Yala provincial primary education service area office. There were 357 people working in the academic year 2020. The tool used in this research was a questionnaire. The statistics used in the data analysis were percentage values, average scores, standard deviation, t-Test, F-Test, multiple comparison using Schefe's method and correlation coefficient Pearson's Simple.
The results showed that 1. The level of multicultural leadership of school administrators under the office of primary education area, Yala province in overall and in each aspect were at a high level. 2. The level of academic administration of educational institute administrators under the office of primary education area, Yala province in overall and in each aspect were at a high level. 3. The comparison of the multicultural leadership of the school administrators, primary educational service, Yala province, according to the variables of genders, ages, educational degrees, working experiences and size were not different. 4. The relationship between multicultural leadership and academic administration of school administrators under the Yala provincial primary education service Area office, overall, there was positive with a high degree of correlation 5. The suggestions about the multicultural leadership of the school administrators, there were as follow: the administrators should speak confidently, to the point and effectively, support good relationships among teachers and staffs. In term of, the academic administration of the school administrators should participate in the analysis of the core curriculum and the problem of community needs. School curriculum should be updated and appropriate to the context.
Key words : Leadership ; Multicultural Leadership ; Academic Administration
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 Al-HIKMAH Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.