The Development of Arabic Speaking Skill using Role Play Activities : A Case Study of Students in the Arabic language teaching field. Faculty of Education Fatoni University

Main Article Content

สิริวรรณ ขุนดำ
มะวัดดะฮ์ จะปะกียา

Abstract

วิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการพูดทางภาษาอาหรับ โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการพัฒนาทักษะการพูดทางภาษาอาหรับ โดย ใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อวิชาภาษาอาหรับหลังจากใช้ทักษะการพูดภาษา อาหรับ โดยกิจกรรมบทบาทสมมุติ


กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาการสอนภาษาอาหรับ ชั้น ปีที่ 3 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะการพูดภาษาอาหรับ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางทักษะการพูดของนักศึกษา หลังจากเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพูดภาษาอาหรับสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพูดภาษาอาหรับ อยู่ในระดับมากที่สุด x= 4.60

Article Details

How to Cite
ขุนดำ ส., & จะปะกียา ม. . (2024). The Development of Arabic Speaking Skill using Role Play Activities : A Case Study of Students in the Arabic language teaching field. Faculty of Education Fatoni University. Al-HIKMAH Journal, 13(26), 171–179. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/269618
Section
Research Article

References

ธราดล นาคนาวา, วารินทร์พร ฟันเฟื่องฟู, (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอาหรับโดยใช้แบบฝึกทักษะการพูดภาษาอาหรับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วารสารนิสิตวัง ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562

ปรัชญา บินหมัดหนี, โสรัตน์อับดุลสตา, และชัรฟุดดีน หะยี. (2561). ศึกษาสภาพและปัญหาการ จัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 13(25), 25 – 37.

รอมยี มอหิ, มะซัมดี สะอะ, มูฮำหมัดซากี นิตีเมาะ, ฟารีด อาแว, และอาดีละห์ หะยีนิแว. (2562). การ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอาหรับ โดยใช้บทเพลงอนาซีดอาหรับสำหรับนักเรียน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2562. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ

วรรัตน์ วิชัยกุล. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์จำลองชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรยาณี อาลีมามะ. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอาหรับโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2564.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. (2542). อัลกุรอาน ฉบับแปลความหมายภาษาไทย. มาดีนะฮฺ : ศูนย์กษัตริย์ ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อักุรอาน.

อัซมัต ลูโบะเด็ง. (2559). สภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับในศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด(ตาดีกา) อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.