Publication Ethics
มาตราฐานจริยธรรมการตีพิมพ์วารสาร HRD Journal มหาวิทยาลัยบูรพา
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Duties of Authors)
1. ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความใหม่ ไม่ทับซ้อน และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ
2. ผู้เขียนบทความต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้เขียนบทความที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยจัดทำรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนทั้งในเนื้อหาและท้ายบทความ
4. ผู้เขียนบทความที่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงเท่านั้น
5. ผู้เขียนบทความต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสาร HRD Journal กำหนด
6. ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7. หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ผู้ประเมินบทความควรประเมินคุณภาพของการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงาน มีข้อเสนอแนะที่สอดคล้อง และเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความมากที่สุด
3. ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธการประเมินบทความได้ หากพบผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ บทความไม่เป็นตามคุณภาพของหลักวิชาการ
4. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบส่วนใดของบทความมีการคัดลอกผลงาน หรือซ้ำซ้อนในผลงานชิ้นอี่นๆ
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ และรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร
2. บรรณาธิการต้องสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
3. บรรณาธิการต้องปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญา
4. บรรณาธิการเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัยหากมีความจำเป็น
5. หากเกิดขึ้นความผิดพลาดกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือมีรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนทันที
6. หากปรากฏการประพฤติทุจริตมิชอบใด ๆ ภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้
7. บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้เขียนบทความ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ