Editorial Note
Main Article Content
Abstract
เนื่องจากในช่วงนี้วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การได้รับความสนใจจากผู้วิจัยในการส่งบทความมาเผยแพร่อย่างมาก ฉบับนี้จึงมีความพิเศษในการเพิ่มจำนวนบทความมากขึ้นเป็น 8 บทความ ซึ่งแต่ละบทความนั้นมีความหลากหลายในหัวข้อและกลุ่มอุตสาหกรรมที่ศึกษา รวมทั้งความแตกต่างในระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ หากจัดกลุ่มตามประเภทของหัวข้อเรื่อง ในกลุ่มแรกนั้นเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นและความสามารถในการปรับตัวในอาชีพต่างๆ ได้แก่ บทความเรื่อง ความต้องการทักษะช่างในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และ อุตสาหกรรมการบิน (กลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยาน) โดย รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ สมรรถนะที่จำเป็นของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานด้วยกรอบโครงร่างของ BLM และ APICS โดย คุณสิรินทร เทพมังกร และผศ.ดร.กฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์ และ ความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพของพนักงานลูกค้าสัมพันธ์: กรณีศึกษาศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดย คุณปรีญานุช มากวัฒนสุข และผศ.ดร.บัญญัติ ยงย่วน
ในกลุ่มที่สองเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ ตัวแปรทางพฤติกรรมองค์การที่น่าสนใจ เช่น เรื่องความผูกพันของพนักงาน ได้แก่บทความเรื่อง Human Resource Development Factors and Organisational Values for Sustainable Employment in a Local Thai NGO โดยรศ.ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม คุณพิณทิพย์ โชคชัยพัฒนา และรศ.ดร.ศิริพร แย้มนิล ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์การที่ไม่มุ่งหาผลกำไร และบทความเรื่อง The Meaning of the Employee Engagement of Thai Public Hospitals under the Ministry of Public Health (MOPH) โดย คุณศิริพร โพธิดอกไม้ และรศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี ซึ่งศึกษาความหมายของความผูกพันของพนักงานในโรงพยาบาลรัฐบาลในบริบทของคนไทย ตัวแปรสำคัญทางพฤติกรรมองค์การอีกหัวข้อหนึ่งคือ บทความของ คุณธารินี สุรัตพิพิธ และศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เรื่อง Antecedent Factors for Collective Leadership Development in Social Enterprise Management: Case Studies of Thai Social Enterprises ศึกษาภาวะผู้นำร่วม และบทความของคุณยุวดี ศิริยทรัพย์ และรศ.ดร.ประสพชัย พสุนนท์ ชื่อเรื่องทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์: ตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน และความพึงพอใจในการทำงานกับการทำนายความตั้งใจคงอยู่ในสายอาชีพของพนักงานขับรถบรรทุก ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรทางพฤติกรรมองค์การต่างๆ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ บทความสุดท้ายนั้นแตกต่างจากสองกลุ่มข้างต้น เป็นงานศึกษาวิจัยในสถาบันการศึกษา เรื่อง Deriving Education Quality Assurance Criteria in IQA System of a Graduate-only Institution: A Delphi Method โดย คุณธัญญ์ฐิตา สถิรไชยวิทย์ และรศ.ดร.จิรประภา อัครบวร ซึ่งเสนอวิธีการได้เกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาโดยวิธีการเดลฟาย
เช่นที่เคยได้เรียนผู้อ่านไว้แล้วว่า กองบรรณาธิการตั้งใจที่จะพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพที่สูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากการใช้ระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารในระบบออนไลน์แล้ว ในวารสารฉบับนี้ยังได้เพิ่มสารสนเทศของระยะเวลาในการรับ (Received) การทบทวนแก้ไข (Revised) ซึ่งบางบทความอาจมีหลายครั้งเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด จนมาถึงขั้นตอนการตอบรับ (Accepted) บทความลงตีพิมพ์ในวารสารไว้ด้วย ดังนั้นจึงขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการทุกท่าน ส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการของท่านมาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ร่วมการพัฒนาส่งเสริมงานวิจัย/งานวิชาการที่มีคุณภาพให้เผยแพร่ได้กว้างขวางเพื่อประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นต่อไป
ด้วยความขอบคุณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี เพชรสว่าง
กองบรรณาธิการ
Article Details
1) The content of article in HROD journal is the author’s wholly responsibility to research, analyze, summarize, compile, and reference data. The editorial department will not be responsible in anyway.
2) The submitted articles in HROD journal must be unpublished before and must not be currently under consideration for publication elsewhere. If it is detected for its repetition, the author must be responsible for infringement of copyright.
3) Authors will be asked to transfer copyright of the article to the Publisher. The article is prohibited to reproduce all or part of the text, unless allowed.