Editorial Note

Main Article Content

Pawinee Petchsawang

Abstract

วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัย 8 บทความ ซึ่งแต่ละบทความนั้นมีความหลากหลายในเนื้อหาสาระ บริบทที่ศึกษา และระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ


โดยบทความวิจัยในกลุ่มแรกเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บทความวิจัยของ คุณปณิตา ศาสตรวาหา และศ.ดร.จิรประภา อัครบวร ศึกษาถึงปัจจัยการบริหารผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเป็นธรรมของบุคลากรในองค์กรผู้ผลิตไฟ้ฟ้าภาคเอกชนในประเทศไทย และบทความวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการตั้งใจเลือกช่องทางร้านค้าปลีกออนไลน์ของผู้บริโภค โดย ผศ.ดร.เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และคุณภัทรภร วีระภัทรวณิช ทั้งสองบทความนี้ใช้การวิเคราะห์สถิติโดยการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ส่วนบทความวิจัยเรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารและความแตกต่างของรายได้ระหว่างเพศชายและหญิง โดย อ.ดร.ธัญมัชฌ สรุงบุญมี เป็นการใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและการสัมภาษณ์ บทความวิจัยเรื่อง ความเชื่อมั่นและความตรงเชิงสภาพของแบบทดสอบสถานการณ์เพื่อประเมินการคิดเชิงกลยุทธ์ในภาคการเงินของประเทศไทย โดย รศ.ดร.นันทา สู้รักษา เป็นการวิเคราะห์ตรวจสอบเครื่องมือวิจัย


บทความวิจัยในกลุ่มที่สองเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บทความวิจัยของ อ.ดร.สายนที เฉินบำรุง และรศ.ดร.นิตยา เจรียงประเสริฐ ที่ศึกษาลักษณะการจ้างงานผู้สูงอายุในองค์กรที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนและนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลไทยที่จำเป็นต่อการจ้างงานของผู้สูงอายุ บทความวิจัยเรื่อง วงจรชีวิตระบบพี่เลี้ยงในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งหนึ่งเป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษาระยะยาวเชิงคุณภาพ โดย อ.เฟื่องฟ้า ปัญญา บทความวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างกรอบคิดทางจิตวิทยาการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนเขตกรุงเทพมหานครโดยรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด-พฤติกรรม ของคุณอโนมา ภาคสุทธิ, ศ.ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, และรศ.ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และสุดท้ายคือบทความเรื่อง การเตรียมความพร้อม SMEs ไทยด้านสมรรถนะทางปัญญาจัดการ Big data เชิงธุรกิจ อย่างคุ้มค่าบนเครือข่าย 5G เพื่อผลประกอบการที่ยั่งยืนในวิถีใหม่โดย ดร.วิไล พึ่งผล


วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การนั้นเป็นวารสารที่จัดอยู่ในดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยในระดับที่ 1 (TCI 1) บทความที่คัดสรรมานำเสนอจึงเป็นบทความที่มีคุณภาพและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายขั้นตอนเพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งบทความที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทางบรรณาธิการขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการทุกท่าน ส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการของท่านมาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ร่วมการพัฒนาส่งเสริมงานวิจัย/งานวิชาการที่มีคุณภาพให้เผยแพร่ได้กว้างขวางเพื่อประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

Section
Editorial Note