Editorial Note

Main Article Content

Kritkorn Nawakitphaitoon

Abstract

วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัย ทั้งหมด 7 บทความ ซึ่งแต่ละบทความนั้นมีความหลากหลายในเนื้อหาสาระ บริบทที่ศึกษา และใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  


            บทความวิจัยในกลุ่มแรกเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บทความวิจัยของ คุณธัญญพัทธ์  ลิขิตธนสมบัติ และรศ.ดร.เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ ที่ศึกษาพฤติกรรมการหางานและตัวชี้วัดคุณภาพของแอปพลิเคชันหางานออนไลน์ในการจับคู่ผู้หางานกับนายจ้างของกลุ่มวัยทำงาน ในขณะที่บทความวิจัยของ คุณสิวัฒน์ สุวรรณศิลป์ และรศ.ดร.วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ ศึกษาอิทธิพลของความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานต่อความตั้งใจในการทำงานหลังเกษียณ ผ่านตัวแปรทัศนคติในการทำงานหลังเกษียณ ของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยเปรียบเทียบระหว่างคณาจารย์ในเจเนอเรชั่น X และ Y และบทความของ คุณหทัยขวัญ จันทอง และรศ.ดร.วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ ที่ศึกษาอิทธิพลของการบริหารสายอาชีพที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงแรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยมีความพึงพอใจในสายอาชีพเป็นตัวแปรคั่นกลาง นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยภาษาอังกฤษอีก 2 บทความ ได้แก่ บทความของคุณ Liqian Yang ที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน Gig worker ในธุรกิจแพลตฟอร์มแบ่งปันองค์ความรู้ในประเทศจีน และบทความสุดท้ายในกลุ่มนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง ของ คุณดิว อินทปัญญา และอ.ดร.ก่อเกียรติ์ มหาวีรชาติกุล ที่ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความหมายในการทำงานของพนักงานเจนเนอเรชั่น Z


            บทความวิจัยในกลุ่มที่สองเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บทความวิจัยของ คุณณัฐพล หลงสวาสดิ์ และผศ.ดร.ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร ที่ศึกษามุมมองและผลกระทบด้านสุขภาวะในที่ทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพ กรณีศึกษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และปิดท้ายด้วยบทความของ คุณนพรัตน์ เผ่าพัฒน์ และรศ.ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม ที่ศึกษาการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์การที่มีการควบรวมกิจการ ผ่านมุมมองทางวิทยาศาสตร์จากสามสาขาวิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา


            วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การนั้นเป็นวารสารที่จัดอยู่ในดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยในระดับที่ 1 (TCI 1) บทความที่คัดสรรมานำเสนอจึงเป็นบทความที่มีคุณภาพและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายขั้นตอนเพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งบทความที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางบรรณาธิการขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการทุกท่าน ส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการของท่านมาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ร่วมการพัฒนาส่งเสริมงานวิจัย/งานวิชาการที่มีคุณภาพให้เผยแพร่ได้กว้างขวางเพื่อประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นต่อไป 

Article Details

Section
Editorial Note