สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560)

The status of the Northeastern Regional Literature Researches in 2 decades (1997-2017)

Authors

  • พัชลินจ์ จีนนุ่น Thaksin university

Keywords:

status of researches, Northeastern regional literature, Thailand

Abstract

บทความนี้มาจากงานวิจัยเชิงเอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560) โดยรวบรวมบทคัดย่องานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น และงานตีพิมพ์ในรูปแบบงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ช่วงพ.ศ. 2540-2560 นำเสนอในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่นำวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานมาศึกษาจำนวน 147 เรื่อง ทั้งหมด 22 สถาบัน โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมากที่สุดตามลำดับ สาขาวิชาภาษาไทยนิยมใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นมากที่สุด ทั้งยังมีสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในเชิงพัฒนาคนและสังคมนำวรรณกรรมท้องถิ่นไปวิจัยด้วย ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะ สาขาวิชาพัฒนศึกษา สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา สาขาวิชาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา และสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ ทั้งนี้พบว่า นิสิตระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาสารคามใช้ข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่นค่อนข้างมาก โดยมุ่งนำแนวคิดหลังสมัยใหม่มาวิเคราะห์ตัวบท ประเภทของข้อมูลที่พบมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มประเภทนิทานและศาสนา ประเด็นในการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่น มีทั้งการศึกษาเชิงคติชน การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การศึกษาพุทธปรัชญา คุณธรรม จริยธรรม การศึกษาภูมิปัญญา วัฒนธรรม การศึกษาองค์ประกอบวรรณกรรม การศึกษาภาษา การประยุกต์หรือปรับใช้ในการเรียนการสอนหรือสังคม การศึกษาเชิงสุนทรียศาสตร์ การศึกษาตัวละคร การศึกษาเชิงสังคม การศึกษาโดยใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่ และการศึกษาเจตคติของคนในสังคม โดยการวิจัยองค์ประกอบวรรณกรรมมีมากที่สุด นอกจากนี้ พบว่านักวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่หลากหลาย ทั้งวิจัยเชิงเอกสารและคุณภาพ การวิเคราะห์ในเชิงสหศาสตร์ รวมถึงความพยายามนำแนวคิดหลังสมัยใหม่มาใช้มากกว่าในอดีต

คำสำคัญ: สถานภาพการวิจัย,  วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน,  ประเทศไทย

Author Biography

พัชลินจ์ จีนนุ่น, Thaksin university

Thai department, Humanities and Social sciences, Thaksin University Thailand 90000

References

เกวลิน ภูมิภาค. (2543). ความเชื่อทางศาสนาและลัทธิที่ปรากฏในวรรณกรรมคำสอนของชาวอีสาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คนึงชัย วิริยะสุนทร. (2557). กลวิธีทางภาษาและบทสะท้อนวิธีคิดท้องถิ่นในสำนวนอีสาน.วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2541). การศึกษาเจตคติต่อเพลงพื้นบ้านอีสานของนักศึกษา สถาบันราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตอีสานใต้. รายงานวิจัย. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
จักรพงษ์ ปุณขันธุ์. (2555). การศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากคำผญา: กรณีศึกษาในเขตอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2552). มโนทัศน์ในนิทานสำนวนอีสาน. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุมพร สมจิตศรีปัญญา. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชิดชาย บุตดี. (2555). บทศึกษาและวิเคราะห์ตำนานอุษาบารส ฉบับวัดพระพุทธบาทบัวบก. รายงานวิจัย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ญาณิกา อ้อมณฑา. (2548). การศึกษาภาพสะท้อนสังคมจากบทเพลงของสลา คุณวุฒิที่ขับร้องโดยไมค์ ภิรมย์พร. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดุษฎี กองสมบัติ. (2546). การวิเคราะห์เนื้อหาและกลวิธีการใช้ภาษาในการแสดงตลกอีสาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชู ภูศรี. (2554). วรรณกรรมทำนายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
บุญเที่ยง พมมะจันทร์. (2542). แนวคิดเชิงปรัชญาในคัมภีร์ พระเจ้าเลียบโลก และอิทธิพลที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวลาว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญมา ไชยแสนท้าว. (2542). นิทานญ้อ: ศึกษากรณีบ้านอู้ ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2542). การวิเคราะห์ตำนานสุริยคราสและจันทรคราสของชนชาติไท. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2561). ถอดบทเรียนวรรณกรรมอีสานศึกษา: มองเส้นทางจากอดีตสู่อนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17.
ประคอง เจริญจิตรกรรม.(2525). หนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ประพนธ์ เรืองณรงค์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2545). ภูมิปัญญาทางภาษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ประมวล พิมพ์เสน. (2555). การประยุกต์วรรณกรรมคำสอนอีสานโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียา หิรัญประดิษฐ์ และสมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู) หน่วยที่ 10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปิยนงค์ แสนสิงค์. (2557). ความเป็นท้องถิ่นนิยมในปกิณกคดีของนักปราชญ์พื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พงศ์ธวัช จรูญฐิติวัฒน์. (2558). วาทกรรมคำอวยพรในวรรณกรรมคำผูกแขนอีสาน. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พชรวรรณ พานิคม. (2549). ภาพพจน์ที่ปรากฏในหมอลำกลอนซิ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรทิพย์ สารปรัง. (2540). นิทานพื้นบ้านบ้านมะค่า บ้านนาสีนวน บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์. (2555). ศึกษาพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องธรรมสร้อยสายคำ. รายงานวิจัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุทัย ปริยัติโกศล. (2554). ปริศนาธรรมเกี่ยวกับประเพณีการตายของภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบรรจง จิตตกโร. (2559). คองสิบสี่ในวรรณกรรมและวิถีชีวิต. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พระมหาณัฐพล โพไพ. (2544). ศึกษาคำเรียกขานในพระพุทธศาสนา: กรณีจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัทรวดี อุทธา. (2555). การเชื่อมโยงความในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่อง “ขูลูนางอั้ว”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มัลลวีร์ ดอกแก้ว (2548). วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพุทธทำนาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
มานิตย์ โศกค้อ. (2552). วิเคราะห์บทสวดสรภัญญะ บ้านท่าลาด ตำบลแสนสุข อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานวิจัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รัชนี คล่องแคล่ว. (2542). ปริศนาคำทายของชาวไทยเขมรบ้านทุ่งวัง ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วนิดา อ่อนละมัย. (2557). แนวทางการปรับใช้วรรณกรรมสินไซเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรพล ผลคำ. (2546). การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมในนิทานพื้นบ้านอีสาน. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิทย์ เหลืองประภัสร์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานเรื่องสตราอภิธรรมกำเนิด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ ตุนา. (2543). โลกทัศน์ในวรรณกรรมอีสานเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วลีรัตน์ มันทุราช. (2547). การศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านเขมรถิ่นตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันเพ็ญ ใหม่คามิ. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานกับวรรณกรรมล้านนาเรื่องพญาคันคาก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วุธยา สืบเทพ. (2549). การศึกษาคำสื่อจินตภาพในเพลงโคราชของกำปั่น บ้านแท่น. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โศรยา ธัญญประกอบ. (2560). ตำนานประจำถิ่นไทเลย : ความหมายของเรื่องเล่าและการสร้างสำนึกทางชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถิตย์ ภาคมฤค. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาผญาเกี้ยว. รายงานวิจัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สายหยุด บัวทุม. (2550). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมอายุรกรรมพื้นบ้านตำบลปากช่องอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัย. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ ฐิติรัตน์ รัตนจรัสโรจน์ ปิยพักตร์ สินบัวทอง มารศรี สอทิพย์ สรตี ใจสะอาด อุมารินทร์ ตุลารักษ์. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบคิดผ่านงานวรรณกรรมลุ่มน้ำโขง. รายงานวิจัย. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรนี แก้วกลม. (2551). การปริวรรตและวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านอีสานเรื่องทำท้าวเสื้อเน่าฉบับวัดอโนดาต จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อธิเทพ ผาทา. (2558). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของสตรีชาวพุทธทีปรากฏในวรรณกรรมอีสาน. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัษฎาวุธ ไสยรส. (2558). มโนอุปลักษณ์ความเป็นอีสานในบทเพลงลูกทุ่งอีสานร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อำไพ เจริญกุล. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านประเภทผีภาคอีสานและภาคใต้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

Published

2020-08-29

How to Cite

จีนนุ่น พ. . (2020). สถานภาพการวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานในรอบสองทศวรรษ (พ.ศ.2540-2560) : The status of the Northeastern Regional Literature Researches in 2 decades (1997-2017). Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 37(2), 228–257. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/239504

Issue

Section

บทความวิจัย