การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

The use digital media to promote health

Authors

  • พฤกษา เกษมสารคุณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง
  • บงกชกร หงส์สาม
  • กันตพิชญ์ ศักดิ์สวัสดิ์

Keywords:

สื่อดิจิทัล การสื่อสารสุขภาพ

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเปิดรับ การแสวงหาข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัล ตลอดจนความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เก็บข้อมูลจากจากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ในพื้นที่ทั้ง 19 ตำบล ของอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับและการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสูง  โดยกลุ่มตัวอย่างเปิดรับข้อมูลจากสื่อดิจิทัลวันละครั้ง ผ่านสื่อ Facebook มากที่สุด รองลงมาคือสื่อ Line และสื่อ Application ต่าง ๆ ตามลำดับ  2.)  ความคิดเห็นต่อการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ PM2.5 ผ่านสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับที่ดี เมื่อพิจารณารอบด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีต่อความสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด รองลงมาคือด้านการให้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าใจง่าย และการให้ข้อมูลข่าวสารที่มีความรวดเร็ว  ตามลำดับ ส่วนในระดับปานกลาง คือ ด้านสีสันสวยงามน่าสนใจ และด้านข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้  3.) ด้านความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวฝุ่น PM 2.5 พบว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจว่าฝุ่น PM 2.5 คืออะไร สาเหตุและอันตรายของฝุ่น PM 2.5  และ 4.) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 พบว่า มีการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูง  โดยพบการป้องกันตนเองด้วยวิธีการใส่หน้ากากกรองฝุ่นมากที่สุด และวิธีการที่ใช้น้อยที่สุดมีเพียง 2 วิธี คือ วิธีการฉีดน้ำเพื่อบรรเทาฝุ่น และการใช้เครื่องฟอกอากาศ อาจเป็นเพราะเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง 

 

คำสำคัญ : สื่อดิจิทัล, สื่อสารสุขภาพ, ฝุ่น PM 2.5, การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5

Downloads

Published

2020-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย