สถานภาพและความต้องการความรู้ด้านภาษาต่างประเทศของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
The States and Needs about Foreign Language Knowledge of Vocational College Students of Eastern Economic Corridor Zone
Keywords:
Status, Needs, Foreign Language knowledge, Vocational College Students, Eastern Special Development ZoneAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสถานภาพและความต้องการความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ
ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่อยู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3 จังหวัด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลถูกเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จากวิทยาลัย 7 แห่ง เป็นจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มส่วนใหญ่ประเมินตนเองว่ามีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษอยู่ระดับน้อยถึงปานกลาง มีทักษะการอ่านและการเขียนมากกว่าทักษะการฟังและการพูด เหตุผลที่มีทักษะด้านการฟังและการพูดอยู่ในระดับต่ำเพราะการขาดประสบการณ์ตรงในการสนทนากับชาวต่างชาติ เมื่อสอบถามถึงความต้องการความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีความรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้ได้รับโอกาสในการทำงานที่มีตำแหน่งสูงขึ้น มีค่าตอบแทนสูงขึ้น และมีความต้องการศึกษาภาษาต่างประเทศให้สามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันมากกว่าเพียงแค่การทำงาน มีความต้องการผู้สอนที่เป็นชาวต่างประเทศและเป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และต้องการให้มีการสอนที่เน้นความสนุกสนานพร้อมกับการเรียนรู้
คำสำคัญ: สถานภาพ, ความต้องการ, ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ, นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
References
กาญจนา จันทร์พราหมณ์. (2563). ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 425-436. เข้าได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/download/244851/166438/
ฐมณฑ์ปวีร์ เพชรรัตน์. (2555). การสำรวจความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อประเมินตำราเรียนในการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของพนักงานสายปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี (2561) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 303-315. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/214882/149578
ทัตทริยา เรือนคำ และยุทธศักดิ์ ชื่นใจชน. (2559). การสำรวจการรับรู้การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 77-94.
ธัญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพแรงงานไทยในอุตสาหกรรมการผลิตไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), 1-40. เข้าถึงได้จาก http://journal.innovtalk.com/upload_files/journal/journal_id_34_38.pdf
พันธ์ชล บุตรเมือง, เศรษฐ์ฐ พัฒนมาศ และธีทัต ตรีศิริโชติ. (2563). ความพร้อมด้านการศึกษาและความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2563 ของเครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 2 (หน้า 107-115). เชียงใหม่: ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรม ดิ เอ็มเพรส. เข้าถึงได้จาก https://incbaa.kku.ac.th/home/articles/r/ncbaa2020th
ภัค วีระเสถียร และกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ (2563). ความต้องการสมรรถนะแรงงานด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 9(2), 110-124. เข้าได้จาก http://www.human.ru.ac.th/grad/humanities-journal-grade-school/78-78
วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. (2560). การสำรวจความต้องการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคริสตศาสนศาสตร์ในกรุงเทพฯ. Veridian E-Journal (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(2), 910-926.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2562). การพัฒนาทักษะบุคลากรตามแนวทาง EEC Model. เข้าถึงได้จาก https://eeco.or.th/th/eec-model
อมิตตา ภักดีถิรโภคิน ลือชัย วงษ์ทอง และกิจฐเชต ไกรวาส. (2563). ศึกษาเรื่อง ความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 213-225.