การจัดการในภาวะฉุกเฉิน กรณีผู้ใช้บริการภายในบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Emergency Management: A Case Study of Clients with COVID-19 Infection at Kalasin Shelter for Children and Families

Authors

  • จิตติพัฒน์ จำเริญเจือ -
  • วิจารย์ ชูรัตน์ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์

Keywords:

CIRSIS, IN-CLIENT, COVID-19

Abstract

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน กรณีผู้ใช้บริการภายในบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 โดยการสัมภาษณ์กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคม เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม พนักงานบริการ เจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม และเจ้าหน้าที่ช่วยธุรการ การเงิน  และบัญชี รวมทั้งสิ้น 13 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อนา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการในภาวะฉุกเฉิน เมื่อเผชิญกับเหตุสาธารณภัยที่เกิดขึ้น หน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน เอกภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ตลอดจนการปรับโครงสร้างกระบวนการทำงานใหม่เพื่อไม่ให้มีการสัมผัสทางกายภาพกับผู้ใช้บริการ ป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สามารถจัดการกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ: การจัดการในภาวะฉุกเฉิน, ผู้ใช้บริการ, ไวรัสโคโรนา 2019

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง.

สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2563). แนวปฏิบัติการจัดการรายกรณีเพื่อคุ้มครองเด็กในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

ฉัฐวัฒน์ ชัชณาภัฏฐ์. (2563). การจัดการองค์การในภาวะวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(4), 197-207.

ไทเกอร์. (2565). Crisis Management คืออะไร.สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก http://thaiwinner.com/crisis-management.

_______. (2565). ขั้นตอนการจัดการภาวะวิกฤต.สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก http://thaiwinner.com/crisis-management.

ปรีดี นุกูลสมปรารถนา. (2565) การจัดการภาวะวิกฤต Crisis Management. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565,

จากhttps://www.popticles.com/business/crisis-management.

ยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2565). โควิด-19 คือวิกฤตที่หนักหนาสาหัสที่สุดสำหรับเด็กในประวัติศาสตร์ 75 ปีของยูนิเซฟ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก

https://www.unicef.org/thailand/

ศูนย์อำนวยการต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดกาฬสินธุ์. (2565). สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.kalasin.go.th/t/index.php/th/covid19-daily-all.html

สายงานบริหารความเสี่ยง, (2563). คู่มือการจัดการในภาวะวิกฤต Crisis Management Manual. บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม

, จาก http://www.demco.co.th/storage/downloads/corporate-policies/20210113-demco-crisis management-manual-th.pdf.

สำนักข่าวบีบีซีนิวส์ ประเทศไทย. (2565). โควิด-19: กาฬสินธุ์พบ “คลัสเตอร์โอมิครอน” 21 ราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, จาก

https://www.bbc.com/thai/thailand-59777858.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สำหรับประชาชน.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันพัฒนาสุขภาพเขตเมือง. (2564). คู่มือการกักตัวสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับประชาชน. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

พระนครศรีอยุธยา: ใจดี มีเดีย 149 จำกัด.

Downloads

Published

2023-04-24

How to Cite

จำเริญเจือ จ. . ., & ชูรัตน์ ว. . . (2023). การจัดการในภาวะฉุกเฉิน กรณีผู้ใช้บริการภายในบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): Emergency Management: A Case Study of Clients with COVID-19 Infection at Kalasin Shelter for Children and Families . Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 40(1), 152–163. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/261942

Issue

Section

บทความวิจัย