บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนกรณีศึกษามหาวิทยาลัยยูนนาน
The Role of Higher Education Institutions in China's Poverty Alleviation: A Case Study of Yunnan University
Keywords:
บทบาท; สถาบันอุดมศึกษา; มหาวิทยาลัยยูนนาน; แก้จนAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและวิธีการของมหาวิทยาลัยยูนนานในการช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของชนบทจีน 2) สรุปประสบการณ์การแก้จนตรงเป้าของจีนเพื่อเป็นแบบแผนนำไปประยุกต์ในประเทศอื่น โดยใช้วิธีการศึกษาจากการรวบรวมเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับนโยบายแก้จนของจีนในระดับมหาวิทยาลัย 12 คน ผลการศึกษาพบว่า สถาบันอุดมศึกษากว่า 3,000 แห่งของจีนทุกแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยยูนนานได้ตั้งสำนักงานขจัดความยากจน มีการจัดสรรงบประมาณ ส่งผู้บริหาร คณาจารย์ลงพื้นที่ไปประจำยังหมู่บ้านที่ยากจน การจัดตั้งสำนักงานบรรเทาความยากจนขึ้นมาถือเป็นการสร้างกลไกที่ครบวงจร โดยใช้รูปแบบ 1 : 1 คือ 1 มหาวิทยาลัย 1 พื้นที่รับผิดชอบ, อาจารย์ เจ้าหน้าที่ 1 คน รับผิดชอบ 1 ครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบแผนสำคัญในการแก้จนของจีนคือ การแก้จนตรงเป้า กล่าวคือ ตรงเป้าทั้งในเชิงกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำโครงการ งบประมาณ มาตรการ บุคลากร และผลงาน สำหรับข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้กับประเทศไทย คือ การนำแบบแผนดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมโดยอาจเริ่มต้นจากพื้นที่ยากจนนำร่องกับมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและความพร้อมไปก่อนเพื่อถอดบทเรียนและขยายผลไปสู่พื้นที่และมหาวิทยาลัยอื่นต่อไป
คำสำคัญ: บทบาท; สถาบันอุดมศึกษา; มหาวิทยาลัยยูนนาน; แก้จน
References
เอกสารอ้างอิง
พลเดช ปิ่นประทีป. (2562). แก้จนแบบจีนในบางมุมมอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27906
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). ถอดบทเรียนนโยบาย แก้จน จีน เน้นใช้เทคโนโลยีพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://www.amarintv.com/spotlight/ positioning/detail/10426
อักษรศรี พานิชสาส์น. (2565). ถอดบทเรียนแก้จนแบบจีนด้วยแนวทาง 2D 3M. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/260260
Li Xinghong และคณะ. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จของนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทของจีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th›article›download.pdf
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2566). มหาวิทยาลัย หัวหอก แก้จนจีน 6 หมู่บ้านสำเร็จ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tap-magazine.net/blog-th/news230525
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2566). จีนแก้จนได้ เพราะกล้าคิดนอกกรอบจากลัทธิมาร์กซ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thaipost.net/x-cite-news/384379/
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2566). ถอดประสบการณ์จีนแก้จน-ปราบทุจริตสำเร็จ เพราะมีความกล้าหาญแนะไทยเรียนรู้ได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thaipost.net/x-cite-news/396171/
tap-magazine.net. (2566). มหาวิทยาลัยหัวหอก แก้จนจีน 6 หมู่บ้านสำเร็จ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tap-magazine.net/blog-th/news230525
the State Council. (2015). Decision of the Central Committee of the Communist Party of China and the State Council on Winning the Battle Against Poverty. Retrieved from http://www.gov.cn/gongbao/ content/2015/content_2978250.htm
Wang Jinye (2022). Chinese universities' approaches and implementation results in targeted poverty alleviation. Retrieved from http://www.cssn.cn/dzyx/dzyx_xyzs/201706/t20170621
_3556608_1.shtml
Yu Feng,Gao Yang. (2015). General Secretary Xi Jinping put forward the concept of "targeted poverty alleviation" for the first time. Retrieved from http://www.81.cn/xx_207779/10104640.html
Zhang Yanlin. (2018). What are the experiences of China's targeted poverty alleviation? Retrieved from http://html.rhhz.net/njnydxxbskb/20180603.htm