การสร้างแบรนด์กลุ่มศิลปินเพลงเกาหลีผ่านชุมชนออนไลน์ของแฟนคลับชาวไทย

Korean Musical Artists’ Branding through Thai Fans’ Online Communities

Authors

  • ชัญญา กาญจนปรมาภา -
  • ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

Brand Building, Korean Musical Artists, Online Community, Fanclub, Twitter

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการสร้างแบรนด์กลุ่มศิลปินเพลงเกาหลีโดยชุมชนออนไลน์ของแฟนชาวไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้นำและสมาชิกของชุมชนทวิตเตอร์ของแฟนศิลปินชาวไทยจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า การสร้างแบรนด์ศิลปินเพลงเกาหลีสอดคล้องกับแนวคิดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมของแฟนคลับและแนวคิดการสร้างแบรนด์ของ Kevin Lane Keller โดยการสร้างแบรนด์ศิลปินเพลงเกาหลีเริ่มต้นจากการที่ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้บริหารแอคเคาท์และทีมงาน สร้างแอคเคาท์ทวิตเตอร์ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์และข่าวสารที่ทันสมัยของศิลปินให้กับแฟนคลับชาวไทยเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ทางบวกให้กับศิลปินและหวังว่าสมาชิกในชุมชนออนไลน์และคนทั่วไปจะรู้สึกทางบวกและผูกพันกับศิลปิน จากนั้นพวกเขาก็จะเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์และในสถานที่ตั้งที่กลุ่มชุมชนออนไลน์ทำเพื่อสนับสนุนศิลปินฯ จนถึงขั้นลงทุนทรัพยากรส่วนบุคคล โดยกลุ่มผู้ดูแลบ้านเบสจะอุทิศเวลา พลังงาน และเงินส่วนตัวโดยไม่มีค่าจ้างในการสนับสนุนศิลปินทุกรูปแบบ ขณะที่สมาชิกจะใช้เวลาในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของศิลปินมากขึ้นและซื้อสินค้าที่ศิลปินเป็นพรีเซนเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีการปกป้องเหล่าศิลปินจากข่าวทางลบด้วยวิธีต่าง ๆ  

 

คำสำคัญ: การสร้างแบรนด์, ศิลปินเพลงเกาหลี, ชุมชนออนไลน์, แฟน, ทวิตเตอร์ 

References

ไพบูลย์ ปีตะเสน และจิราพร จันจุฬา. (2563). ถอดรหัสเส้นทางสู่ฮัน-รยู 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 1-17.

จารุภัค อธิวัฒน์ภิญโญ. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทย กรณีศึกษา ศิลปินวง GOT7. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และพฤติกรรมแฟนคลับ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

ชนกานต์ รักชาติ. (2559). วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

บุณยนุช นาคะ. (2560). แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ. [วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ปรางค์แก้ว ปรางรัตน์. (2561). นุช: เครือข่ายการสื่อสารแฟนคลับผลิตโชค อายนบุตร บนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

พัน ฉัตรไชยยันต์. (2563). วัฒนธรรมแฟน: กรณีศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป๊ก ผลิตโชค แฟนคลับ. วารสารนิเทศศาสตร์, 2(38), 35-51.

ศุภิสรา นิ่มครุฑ. (2560). กระบวนการสื่อสาร การสร้างเครือข่าย และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงของแฟนคลับเกาหลีผ่านสื่อทวิตเตอร์ กรณีศึกษา: ศิลปินวงทงบังชินกิ. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว. (2556). พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J-pop. [รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อนินทยา ประสิทธิมี. (2562). พฤติกรรมและอัตลักษณ์บนสื่อออนไลน์ของแฟนคลับศิลปินเกาหลีวง WANNA ONE ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

Admink. (2022, January 28). ทำความรู้จัก fandom marketing กลยุทธ์สร้างแบรนด์ยุคดิจิทัลให้ทรงพลังจาก “แฟนคลับ.” https://www.brandbuffet.in.th/2022/01/the-wall-2021-fandom-marketing/

Duffett, M. (2013). Understanding fandom: An introduction to the study of media fan culture. Bloomsbury Publishing.

Ezani, N. B. (2019). Identity construction of KPOP fandom on Twitter [A Final Year Project, Bachelor of Arts in English for International Communication, International Islamic University Malaysia].

Jenkins, H. (1992). Textual poachers: Television fans & participatory culture. Routledge.

Jenol, A. (2020). K-pop fans' identity and the meaning of being a fan [A Final Year Project, Bachelor of Social Sciences in Anthropology and Sociology, Universiti Sains Malaysia].

Keller, K. L. (2009). Building strong brands in a modern marketing communications environment. Journal of Marketing Communications, 15(2-3), 144.

Muangtum, N. (24/12/2021). FANDOM MARKETING & MONETIZING เจาะลึกการตลาดแฟนด้อม เปิดโลกแฟนคลับ 2022. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/fandom-marketing-and-monetizing-research-thai-consumer-trends-2022/#google_vignette

Today Bizview. (2565, 28 พฤษภาคม). ‘ไทย’ เปย์สุดในอาเซียน วิธีที่พลัง ‘แฟนด้อม’ มีผลต่อแบรนด์. https://workpointtoday.com/branding-fandom-asean-impact-brand/

Downloads

Published

2024-08-27

How to Cite

กาญจนปรมาภา ช. ., & ปัญญไพโรจน์ ช. . (2024). การสร้างแบรนด์กลุ่มศิลปินเพลงเกาหลีผ่านชุมชนออนไลน์ของแฟนคลับชาวไทย: Korean Musical Artists’ Branding through Thai Fans’ Online Communities. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(2), 58–81. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/271540

Issue

Section

บทความวิจัย