สัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2539-2564

Ideas in Magical Realism Literary Works of S.E.A. Write Award Finalists, 1996 – 2021

Authors

  • ZHANG QI -
  • จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Keywords:

Magical Realism literary work, idea, S.E.A. Write Award

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน และเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี 2) วิเคราะห์ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน และเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากตำนาน นิทานและเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีที่เก็บรวบรวมและได้ตีพิมพ์เผยแพร่จำนวน 26 เล่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยใช้แนวคิดภาพลักษณ์ และแนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์แนวสตรีนิยมและเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีนั้นเป็นกระบวนการสร้างผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรม คือสร้างผ่านโครงเรื่องของตำนาน นิทานและเพลง และสร้างผ่านตัวละคร 5 ตัวละคร ได้แก่ ตัวละครเทพธิดา ตัวละครแม่ ตัวละครวีรสตรี ตัวละครภรรยาและตัวละครหญิงพรหมจรรย์ ในส่วนของการวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในตำนาน นิทาน เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยีพบว่า มี 2 ภาพลักษณ์หลัก คือ 1) ภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่นิยามตามขนบ 2) ภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่นิยามผ่านผู้หญิง โดยมีภาพลักษณ์ร่างกาย ภาพลักษณ์พฤติกรรมและภาพลักษณ์นิสัยความเป็นหญิงในประกอบการสร้างภาพลักษณ์ของผู้หญิง

คำสำคัญ: ภาพลักษณ์ของผู้หญิง, ตัวละคร, ตำนาน นิทาน และเพลง, กลุ่มชาติพันธุ์ปู้ยี

References

กนกพงศ์ สงสมพันธ์. (2539). แผ่นดินอื่น. กรุงเทพมหานคร: นาคร.

กล้า สมุทวณิช. (2557). หญิงเสาและเรื่องราวอื่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

จิรภัทร อังศุมาลี. (2549). เล่นเงา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์. (2560). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเศร้า. กรุงเทพมหานคร: แซลมอน.

ชัชวาลย์ โคตรสงคราม. (2552). ทะเลน้ำนม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2552). วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สุนทรียศาสตร์ของการต่อต้านและการเมืองว่าด้วยอัตลักษณ์วรรณกรรม. รัฐศาสตร์สาร รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี/ รัฐศาสตร์สาร 30 ปี, 2, 53-87.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2555) สัจนิยมมหัศจรรย์ไทยในคาถาภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร:อ่าน.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์ : ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนีมอร์ริสัน และวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: อ่าน.

แดนอรัญ แสงทอง. (2557). อสรพิษและเรื่องอื่น ๆ. กรุงเทพมหานคร: สามัญชน.

นพวรรณ รองทอง. (2543). กำเนิดและพัฒนาการของนวนิยายสัจนิยมแนวมหัศจรรย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ประชาคม ลุนาชัย. (2548). นิทานกลางแสงจันทร์. กรุงเทพมหานคร: ศรีปัญญา.

พิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์. (2555). เรื่องเล่าในโลกลวงตา. กรุงเทพมหานคร: Way of book.

ภาสุรี ลือสกุล. (2561). สัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา: ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ วรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2554). กระดูกของความลวง. กรุงเทพมหานคร: ในดวงใจ.

วิมล ไทรนิ่มนวล. (2552). วิญญาณที่ถูกเนรเทศ. กรุงเทพมหานคร: สามัญชน.

วีรพร นิติประภา. (2564). ทะเลสาบน้ำตา. นนทบุรี: A-Book Distribution.

ศิริวร แก้วกาญจน์. (2555). โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า. กรุงเทพมหานคร: ใบไม้ป่า.

ศิริวร แก้วกาญจน์. (2564). เดฟั่น: เรื่องเล่าของตระกูลคนเฆี่ยนเสือจากไทรบุรี. กรุงเทพมหานคร: ผจญภัย.

หัตถกาญจน์ อารีศิลป. (2556). สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

อนุสรณ์ ติปยานนท์. (2551). เคหวัตถุ. นนทบุรี: เคหวัตถุ.

อนุสรณ์ ติปยานนท์. (2554). นิมิตต์วิกาล. นนทบุรี: เคหวัตถุ.

อุเทน พรมแดง. (2548). ต้นไม้ประหลาด. กรุงเทพมหานคร: ดับเบิ้ลนายน์.

Downloads

Published

2024-08-27

How to Cite

QI, Z., & ไชยประเสริฐ จ. . (2024). สัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2539-2564 : Ideas in Magical Realism Literary Works of S.E.A. Write Award Finalists, 1996 – 2021. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(2), 133–160. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/274240

Issue

Section

บทความวิจัย