สถานภาพและลักษณะการประพันธ์ของบทสวดโองการในวรรณกรรมพิธีกรรมภาคใต้

Status and composition of Chant of verses in southern ritual literature

Authors

  • ชาญณรงค์ คงฉิม -

Keywords:

Status, style of writing, verses, ritual literature, southern region

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาบทสวดโองการที่ใช้สวดประกอบพิธีกรรมในพื้นที่ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของบทสวดโองการที่นำมาศึกษา และ 2) ศึกษาลักษณะการประพันธ์ในบทสวดโองการภาคใต้ จากการเก็บข้อมูลจากเอกสารตัวเขียนที่รวบรวมไว้พิพิธภัณฑ์ หอสมุด และวัดต่าง ๆ ตลอดทั้งที่ได้รับความอนุเคราะห์จากกลุ่มหมอไสยศาสตร์พื้นบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน และครูภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 30 โองการ

            ผลการวิจัยพบว่า บทสวดโองการได้แสดงให้เห็นสถานภาพของเอกสาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เอกสารโบราณประเภทหนังสือบุด จำนวน 8 โองการ 2) จากเอกสารตัวเขียนสมุดฝรั่ง จำนวน 19 โองการ และ 3) หนังสือยุคการพิมพ์ จำนวน 3 โองการ

            ประเด็นลักษณะการประพันธ์ในบทสวดโองการภาคใต้ 1) ฉันทลักษณ์ พบการประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ กาพย์ยานี 11 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 คำประพันธ์ประเภทกลอน พบกลอนสี่ที่ไม่เคร่งครัดในการใช้คำ และคำประพันธ์ประเภทร่ายที่ไม่จำกัดคำในแต่ละวรรค 2) ลักษณะร่วมและขนบของคำประพันธ์ บทสวดโองการจะเริ่มต้นด้วยคำนมัสการ ที่ใช้คำว่า โอม ศรี สิบนิ้ว และอ้างเชิญ ของคำเริ่มต้นของบทสวดโองการ ประเด็นของเนื้อหาตัวบท พบว่าตัวบทแสดงให้เห็นของการเชิญและกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 แหล่ง คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนา และครูอาจารย์ ด้านเนื้อหาของตัวบทโองการถวายเครื่องเซ่นสังเวยที่ปรากฏในส่วนท้ายของโองการจะจบด้วยคาถาภาษาบาลีในตอนท้าย

            การศึกษาวิจัยสถานภาพและลักษณะการประพันธ์ของบทสวดโองการในวรรณกรรมพิธีกรรมภาคใต้ ได้แสดงให้เห็นบริบทการใช้โองการ 3 ประเภท คือ 1) การใช้บทสวดโองการเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมที่ต้องใช้เครื่องเซ่นสังเวย 2) การใช้บทสวดโองการเพื่อประกอบการทำน้ำมนตร์ และ 3) การใช้บทสวดโองการเพื่อความเป็นสิริมงคล

คำสำคัญ: สถานภาพ, ลักษณะการประพันธ์, โองการ, วรรณกรรมพิธีกรรม, ภาคใต้

References

Department of Religious Affairs, Ministry of Culture. (2012). Rituals and traditions. Bangkok: Department of Religious

Affairs Ministry of Culture.

Fine Arts Department. (2019) Mahadipmantra: The continuation of the Buddhist mantra in Thai

society. Bangkok: Fine Arts Department.

Jeenun P., Wattanachai W., Chukaew P. (2018). Forms and contents of southern literature during the

printing period 1927 - 1977. Journal of Humanities and Social Sciences.

Udon Thani Rajabhat University. 7 (2), 105-123.

Kaewkhao P. (2004). The legend of the creation of the world. Ban Pa Lam edition. In Thaksin Literature:

Selected Literature, Volume 1. (pp. 3-46). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Nuthong U. (1981). Literary Psalms and Lae Tham Khwan of the Southern Region. Songkhla:

Srinakharinwirot University Southern Region.

Royal Academy. (2011). Dictionary, Royal Institute Edition 2011. Bangkok: Royal Academy.

Downloads

Published

2024-12-26

How to Cite

คงฉิม ช. (2024). สถานภาพและลักษณะการประพันธ์ของบทสวดโองการในวรรณกรรมพิธีกรรมภาคใต้: Status and composition of Chant of verses in southern ritual literature. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(3), 80–105. retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/274321

Issue

Section

บทความวิจัย