กลวิธีการใช้ภาษาและหน้าที่ของชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทยในแอปพลิเคชัน iQIYI
Linguistic Strategies and Functions of Chinese Series Titles in Thai on the iQIYI Application
Keywords:
Naming, Chinese Series, Chinese Series Titles in Thai, StrategiesAbstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในการตั้งชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทยและศึกษาหน้าที่ของชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทยจาก แอปพลิเคชัน iQIYI ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 74 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีการใช้ภาษาในการตั้งชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทย 13 กลวิธี ได้แก่ 1. การใช้คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย 2. การใช้ชื่อตัวละครนำ 3. การใช้ชื่อสถานที่ที่เกิดเรื่อง 4. การใช้คำสรรพนาม 5. การซ้ำคำ 6. การใช้คำบอกอาชีพ 7. การใช้คำบอกเพศของตัวละครหลักหรือตัวละครสำคัญ 8. การใช้คำบอกช่วงเวลาอันสำคัญ 9. การใช้คำบอกเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง 10. การใช้คำสัมผัสคล้องจอง 11. การใช้คำสแลงหรือถ้อยคำสำนวนใหม่ 12. การใช้อุปลักษณ์ และ 13. การใช้นามนัย ส่วนหน้าที่ของชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทยพบ 3 หน้าที่ ได้แก่ 1. การบอกที่มาของเรื่อง 2. การสร้างจินตนาการและการจดจำ และ3. การชักจูงหรือโน้มน้าวใจชวนให้ติดตาม ผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ชื่อซีรีส์จีนที่ตั้งเป็นภาษาไทยมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการในการชมซีรีส์จีนในแอปพลิเคชัน iQIYI อันจะส่งผลต่อยอดใช้บริการแอปพลิเคชันดังกล่าว
คำสำคัญ: การตั้งชื่อ, ซีรีส์จีน, ชื่อซีรีส์จีนที่เป็นภาษาไทย, กลวิธี
References
เอกสารอ้างอิง
ตรียาภรณ์ สายจันทร์ และคณะ. (2565). กลวิธีการตั้งชื่อซีรีส์เกาหลีเป็นภาษาไทยในปี 2016-2020. วารสารฟ้าเหนือ, 13(1): 41-60.
ธรรณปพร หงส์ทอง. (2562). กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์เป็นภาษาไทยจากภาพยนตร์อเมริกัน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6): 1729-1740.
นลินี ศิริพรไพศาล. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ ภาควิชาภาษาไทย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณวดี รัตนศักดิ์ และ สุทธา รัตนศักดิ์. (2566). การตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยของซีรีส์เกาหลี. วารสารมังรายสาร, 11(2): 16-32.
เยาวลักษณ์ ศรีวิเชียร และ จิราพร เนตรสมบัติผล. (2564). กลวิธีการแปลชื่อซีรีส์จีนในแอปพลิเคชัน WeTV เป็นภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 13(2): 155- 175.
วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2552). ทฤษฎีและหลักการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kövecses, Z. (2002). Metaphor: A parcitical introduction. Oxford: Oxford University Press.
Lakoff, G. & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: University of Chicago Press.
Narata. (2564). iQIYI ไม่ได้ดีแค่ชื่อแปลก แต่แตกต่างด้วย 5 จุดขายสำคัญ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566.