การจัดการตลาดนัดชุมชนบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Banna Community Market Management, Banna Sub-district, Bannadoem District, Suratthani Province

Authors

  • บรรจบพันธ์ เมืองสาคร Suratthani Rajabhat University

Keywords:

The Development, Management, Community Market

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาการพัฒนาตลาดนัดชุมชนบ้านนา และศึกษาแนวทางการจัดการตลาดนัดชุมชนบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้นำตลาด กลุ่มองค์การบริหารเทศบาลตำบลบ้านนา กลุ่มประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และกระบวนการ AIC โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านนามีพื้นที่เหมาะแก่การเกษตร ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกร แต่ในขณะเดียวกันบางส่วนประกอบอาชีพค้าขายเนื่องจากชุมชนมีตลาดนัดที่เรียกว่า “ตลาดนัดบ้านนา” โดยลักษณะสำคัญ คือ ขายของที่ชุมชนหาจากธรรมชาติ หรือของป่าหายาก จึงทำให้ดึงดูดความสนใจจากบุคคลภายนอก ซึ่งปัจจุบันตลาดนัดบ้านนาตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟบ้านนา และปัญหาการพัฒนาตลาดนัดชุมชนบ้านนา พบว่า ด้านสินค้าและบริการ การแยกประเภทสินค้าไม่มีความชัดเจน ขาดความสามารถในการดูแลลูกค้าและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้านราคา สินค้ามีราคาที่แตกต่างกันและเกิดการลอกเลียนแบบกันจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าที่เป็นกระแส ด้านการจำหน่าย มีวิธีการจำหน่ายแบบเดิม ๆ สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ด้านการส่งเสริมการตลาด ยังมีช่องทางไม่มากนัก ไม่มีการติดป้ายโฆษณาตามสถานที่ต่าง ๆ จึงทำให้ผู้คนนอกชุมชนไม่ได้รับข่าวสาร

แนวทางการจัดการตลาดนัดชุมชนบ้านนา พบว่า ด้านการสร้างความสำคัญ ต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมหรือโครงการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความร่วมมือภายในชุมชนอย่างแท้จริง ด้านการสร้างแนวทางพัฒนา ต้องมีการสร้างสถานที่ตลาดนัดแบบถาวรและได้มาตรฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อผู้คนที่เข้ามาซื้อสินค้า จัดโซนสินค้าให้เป็นระเบียบ และมีระบบรักษาความปลอดภัย รวมทั้งดูแลเรื่องขยะที่เกิดขึ้นจากตลาดนัด ด้านการสร้างแนวทางปฏิบัติ ต้องมีการจัดอบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแยกประเภทสินค้า และวางแผนการบริหารตลาดนัดอย่างเป็นระบบ

 คำสำคัญ: การจัดการ, ตลาดนัดชุมชน, สุราษฎร์ธานี

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีตลาดนัด. . สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566, จาก http://kcenter.anamai.moph.go.th/ download.php?info_id=2082&download_file=pdf/59c232284a9399061c62109510c455d7.pdf.

กฤษณะพล วัฒนวันยู ( 2555) กฤษณะพล วัฒนวันยู. (2555). ตลาดนัดกับการบริหารจัดการและการสร้างสรรค์ในวิถีชุมชน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ขจรเกียรติ์ ศรีลา, และ จิตรลดา ไชยะ. (2559). แนวทางการพัฒนาตลาดชุมชนสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ชุมชนตลาดสด 1 2 3 เขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนก่น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสน ศาสตร์.

งานวิเคราะห์นโยบายและแผนเทศบาลตำบลบ้านนา. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ. 2560- 2565) เทศบาลตำบลบ้านนา. สุราษฎร์ธานี : เทศบาลตำบลบ้านนา.

ธนากร จุดาศรี. ( 2556). การจัดการพื้นที่สาธารณะในรูปแบบตลาดนัด: กรณีศึกษา ตลาดนัดหน้าศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

นภาวรรณ คณานุรักษ์. (2554). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีวีแอลการพิมพ์ จำกัด

พิษณุ จงสถิตวัฒนา. (2548). การบริหารการตลาด การวิเคราะห์กลยุทธ์และการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2553). หลักการตลาดเพื่อธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เสริมมิตร.

Downloads

Published

2024-12-26

How to Cite

เมืองสาคร บ. . (2024). การจัดการตลาดนัดชุมชนบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี: Banna Community Market Management, Banna Sub-district, Bannadoem District, Suratthani Province. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 41(3), 131–157. retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/273156

Issue

Section

บทความวิจัย