เศรษฐกิจนอกระบบกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการชาวเมียนมากับผู้คนในเมืองขอนแก่น

Informal economy and Interaction of Myanmar Entrepreneurs with people in Khon Kaen province

ผู้แต่ง

  • รัชดาภรณ์ หาปู่ทน -
  • จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการ, ชาวเมียนมา, ปฏิสัมพันธ์, เศรษฐกิจนอกระบบ, ทุน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในเมืองขอนแก่นในฐานะที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้เศรษฐกิจนอกระบบกับผู้คนในเมืองขอนแก่น ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ประกอบการชาวเมียนมาที่ประกอบกิจการเปิดร้านขายของชำ จำนวน 5 คน และผู้ประกอบการชาวเมียนมาที่ประกอบกิจการประเภทอื่น ๆ เช่น ร้านตัดผม ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน 6 คน และมีผู้ให้ข้อมูลเสริม คือ ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการชาวเมียนมา เช่น พ่อค้า แม่ค้า คนไทยในท้องถิ่น จำนวน 4 คน และคนขับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการชาวเมียนมาใช้ทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่และอาศัยการสร้างความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักกับพ่อค้า แม่ค้า เพื่อติดต่อหาแหล่งสินค้านำมาจำหน่าย อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์กับคนขับรถโดยสารประจำทาง ในการจ้างเหมาเพื่อเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าที่ตลาดใจกลางเมือง การจ้างเหมารถโดยสาร นอกจากจะทำให้เกิดรายได้แก่คนในท้องถิ่นแล้ว ยังก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างผู้ประกอบการชาวเมียนมาและคนขับรถโดยสารจนเกิดเป็นเครือข่ายเกิดขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการชาวเมียนมายังมีการสะสมทุนด้านต่าง ๆ ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญสู่การเป็นผู้ประกอบการ ผู้เขียนจึงพยายามชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกิจกรรมของเศรษฐกิจนอกระบบและในระบบที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการชาวเมียนมาและผู้คนในเมืองขอนแก่น

References

ขวัญชนก อำภา, วันชาติ ชาญวิจิตร. (2564). การพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-

ตะวันตกกับกระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง The development of East-West Economic

Corridor (EWEC) Route and Collaborative Planning process [ฉบับออนไลน์] วารสาร

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(2), 1 – 14.

ตะวัน วรรณรัตน์. (2557). การศึกษาเศรษฐกิจนอกภาคทางการในประเทศไทย Study of Informal

Economy in Thailand. Silpakorn University Journal, 137-160.

ธานี ชัยวัฒน์. (2557). เศรษฐกิจนอกระบบ: อะไร อย่างไร ทำไม. เอกสารประกอบการสัมมนาทาง

เศรษฐศาสตร์ประจำเดือนมิถุนายน วันที่ 26 มิถุนายน 2557 ณ ห้อง Auditorium อาคาร 1 สำนักงานใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ภคริดา พิจารณ์, จงรักษ์ หงษ์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าว กรณี

ศึกษา: จังหวัดขอนแก่นประเทศไทย. MBA-KKU Journal, 9(1), 49-63.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2561) มุมมองเศรษฐกิจไทย : ไม่เป็นทางการ [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิทยาการ

จัดการ,1(1), 17 – 38.

วิลาสินี โสภาพล. (2559). ชุมชนข้ามถิ่น: การก่อร่างทางอัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัด

ขอนแก่น. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขงมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลาสินี โสภาพล. (2559). ชุมชนข้ามถิ่น: การข้ามท้องถิ่นและการก่อร่างทางอัตลักษณ์ของแรงงานข้าม

ชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้บริบทของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. (วิทยานิพนธ์

ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศราวุฒิ เหล่าสาย และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2555). การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติชาว

พม่าในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น. Graduate Research Conference 2012.

ศิวกร ราชชมภู, จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2563). ภาวะพลเมืองโลกและการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติชาวเมียน ________มาในเขตเมืองขอนแก่น. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 8(1), 137-155.

สมภูมิ แสวงกุล. (2553). แรงงานนอกระบบ...เสาหลักเศรษฐกิจไทย [ฉบับออนไลน์]. วารสาร

ประชากรศาสตร์,26(1), 60-78.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2566). สถิติการทำงานของคนต่างด้าวประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2566.

สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/categor________y/view/list-label

แม่ปลา (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 18 ธันวาคม 2565

เจ๊แมว (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 18 ธันวาคม 2565

ลุงเชษฐ (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 18 ธันวาคม 2565

ลุงชา (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 20 ธันวาคม 2565

นาลู (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 21 ธันวาคม 2565

ยัมเมะ (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 14 พฤษภาคม 2566

โมอา (นามสมมติ), สัมภาษณ์, วันที่ 25 ธันวาคม 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

หาปู่ทน ร. ., & ขัดชุ่มแสง จ. . (2024). เศรษฐกิจนอกระบบกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการชาวเมียนมากับผู้คนในเมืองขอนแก่น: Informal economy and Interaction of Myanmar Entrepreneurs with people in Khon Kaen province. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 41(3), 106–130. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/271613

ฉบับ

บท

บทความวิจัย