แนวทางการพัฒนาแผนการตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร และ 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยรวบรวมจากแหล่งปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ อาทิ ศึกษาเอกสาร เว็บไซต์ สัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีและไม่มีส่วนร่วม การสำรวจพื้นที่ศึกษากับตัวแทนของประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยว ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ รวม 480 คน และสัมภาษณ์ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนจากภาคเอกชน นักวิชาการ ประชาชนในพื้นที่ศึกษา ผู้นำชุมชน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) และนักท่องเที่ยวโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) รวมทั้งสิ้น 45 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธรโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.91) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ (gif.latex?\bar{X}= 4.00) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (gif.latex?\bar{X}= 3.94) และด้านข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{X}= 3.81) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร มีดังนี้ (1) การพัฒนาพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะหรือมีความเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น เช่น วิมานพญาแถน ธาตุก่องข้าวน้อย เมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ฯลฯ รวมทั้งของฝากของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ ข้าวเม่าสูตรโบราณ หมอนขิด ผ้าไหม ปลาส้มและลอดช่อง และประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 5 ของงานประเพณีโลก เป็นต้น (2) การบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยในการท่องเที่ยวในพื้นที่ การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรมที่พักแรม ร้านอาหารและสถานบันเทิง การบริการมัคคุเทศก์ (3) การพัฒนาทรัพยากรและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวสีเขียว การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวพร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพชุมชนแหล่งท่องเที่ยวและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และ (4) การพัฒนาและส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของคนในชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย