การบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล, การศึกษาไทยยุค 4.0, แนวทางการพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบการจำแนกตามอายุและการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบการจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ 4) ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล
กับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระ และครู จำนวน 11 โรงเรียน จำนวน 285 คน
ผลการวิจัย พบว่า
- การบริหารภายในโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล และด้านการบริหารจัดการระบบคุณภาพ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และสามารถบริหารจัดการโรงเรียนบรรลุตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
- การวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอายุ และประสบการณ์ทำงาน ระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ของอายุ และประสบการณ์ทำงานด้วยวิธี LSD พบว่า ช่วงอายุและช่วงประสบการณ์ทำงานของแต่ละช่วงมีผลต่อการบริหารโรงเรียนตามมาตรฐานสากลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p≤ .05
- แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการจัดการศึกษาไทยยุค 4.0 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร คือ ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้านการบริหารจัดการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
มีระบบการจัดการความรู้ (KM) และการสร้างนวัตกรรมเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และครูสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร โดยมีการเข้าอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถแสวงหา ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวตามสภาพความต้องการและจำเป็น