ศึกษา การศึกษาพฤติกรรมปรับตัวการทำงานในยุคดิจิตอลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การปรับตัวการทำงาน, ยุคดิจิทัล, การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมปรับตัวการทำงานในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร พนักงานบริษัท พนักงานสถาบันการเงิน ฝ่ายวิเคราะห์ เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผลการศึกษา พบว่า ด้านเทคโนโลยีโดยเฉลี่ยมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 โดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในองค์กร มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาและการปรับตัวในการทำงาน ด้านการประเมินองค์กร และด้านการบริหาร มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เท่ากับ 3.83 ให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสาร การให้ความสำคัญ และการชี้นำวิสัยทัศน์ มีผลต่อการกำหนดทิศทางขององค์กร เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาทั้งองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ด้านประสิทธิภาพการปรับตัว มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจ การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ให้ความสำคัญ บุคลากรมีการคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มีการคิดอย่างเป็นเหตุผล และวางแผนอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน มีความยืดหยุ่นและสามารถพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์สอดคล้องกับยุคดิจิทัล ด้านการประเมินการทำงานตนเอง มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.10 ให้ความสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานในปัจจุบันของท่านตรงตามความสามารถและความถนัด ด้านปัจจัยด้านอื่นๆ มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 ให้ความสำคัญกับการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ รวมทั้งการเสริมแรงทางบวก จะเป็นวิธีการปรับตัวและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและคงทนอยู่ได้นาน ระดับความรู้สึกที่ท่านในการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28