รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฑิวาวรรณ สุวานิโช มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นฤมล พระใหญ่ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนว, ความเป็นพลเมืองดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 317 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่ครูแนะแนวของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 317 คน รวมกลุ่มต้วอย่างจำนวน 634 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) โดยมีขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา         

        ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กระบวนการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล มี 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน (Planning) ประกอบด้วย การประสานความร่วมมือ กำหนดเป้าหมาย การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ประกอบด้วยการกำหนดผู้รับผิดชอบ ด้านการนำ (Leading) ประกอบด้วย การสื่อสาร การให้คำปรึกษาแนะนำ การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ การอำนวยความสะดวก และด้านการกำกับดูแล (Monitoring) ประกอบด้วยการดำเนินงานตามแผน การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผล การรายงานผล และการสรุปผลการดำเนินงาน ส่วนที่ 2 คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ควรสร้างเสริมให้กับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มี 3 ด้าน คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการปกป้องและความปลอดภัย และด้านตนเอง และพบว่ารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สร้างขึ้นมีความเป็นไปได้ในระดับมาก (= 4.21, S.D. = 0.21) และมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (= 4.59, S.D. = 0.11)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28