ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร พหุนาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • จันทร์ ติยะวงศ์ Nakhon Ratchasima College, Amphur Mueng, Nakhon Ratchasima Province 30000

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีประสิทธิภาพ (/) กำหนดเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านมะขามเฒ่า อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 41 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฝึกคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร พหุนาม แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อ ที่มีค่าความสอดคล้องของข้อสอบและจุดประสงค์ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.76  ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.95 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้วิธีของแอลฟาครอนบัคมีค่า 0.75 ใช้รูปแบบการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย       ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติที

           ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร พหุนามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.00:75.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ ที่ตั้งไว้คือ 75:75 มีขั้นการสอนทั้งหมด 8 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอบทเรียน ขั้นที่ 2 การแบ่งกลุ่มคละความสามารถ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ขั้นที่ 4 การทดสอบย่อย  ขั้นที่ 5  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปความรู้ในกลุ่ม ขั้นที่ 6 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ขั้นที่ 7 การทดสอบหลังเรียน และขั้นที่ 8 การสรุปคะแนนก้าวหน้าและประกาศรางวัล 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมทั้งฉบับมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29