การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การเรียนการสอน, การส่งเสริมสุขภาวะ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

       สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Corona Virus) หรือโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะในปี 2563 ที่ปรากฏการแพร่ระบาด 2 ครั้ง และปี 2564 ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นระลอกที่ 3 ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทุกคนเรียกกันว่า วิถีปกติใหม่ หรือ New Normal สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องจึงมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อและรับเชื้อโควิด-19 บทความวิชาการชิ้นนี้ จึงเป็นการถอดบทเรียนผลจากการที่ผู้เขียนได้นำโครงการเข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะแก่เยาวชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดำเนินการโดยนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ภายใต้ กิจกรรมคิดดีไอดอล ซึ่งจากการจัดการเรียนการสอนในลักษณะโครงการดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษามีการพัฒนาในระดับตัวบุคคล สามารถสะท้อนให้เห็นทักษะความสามารถของตนเอง และพลังขับเคลื่อนที่จะพัฒนาตนเองต่อไป

References

ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2560). หน่วยที่ 13 การผลิตสื่อชุมชนเพื่อการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวางแผน การออกแบบ และการผลิตสื่อชุมชน หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.

ประไพพิศ มุทิตาเจริญ. (2561). องค์กร การสื่อสาร และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ: ธรรมศาสตร์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC&Log Book. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มลินี สมภพเจริญ. (2563). การสื่อสารสุขภาพเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วาสิตา บุญสาธร. (2563). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนัก 11 สำนักงานสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. (2563). เอกสารประกอบการประชุม คิดดีไอดอล: นักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ (ภาคใต้).

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลย-อลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

Boonsathorn, W. (2020). Strategic communication (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Dechakupt, P. & Yindeesuk, P. ( 2018). 7C Skill of teacher 4.0 PLC & Log Book. (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn,

Muthitacharoen, P. (2018). Organization, communication and changing. Bangkok: Thammasat University (in Thai).

Office 11, Media and Intellectual Health Promotion Office, Thai Health Promotion Foundation. (2020), Meeting document of Kiddee Idol: Creative communicator of health idea (southern).

Sinsuwan, N. (2017). Unit 13 Media production for public relations campaign in community in Document of planning design and production, for community media unit 9-15. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University (in Thai).

Somphopcharoen, M. (2020). Health communication for health knowledge. (2nd ed.). Bangkok: Charoendeemankong Printing.

Thongaime, A. (2018). Project based learning for developing student in the 21st century. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(3), 185-199.

Wongkumsin, T. & Singhwee, C. (2020). Project-Based learning for development self-directed learning. Journal of Social Sciences & Humanities, 46(1), 218-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28