ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ผังเมือง, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

       จากการตราพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ทำให้พื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เกิดปัญหาในด้านการจัดทำผังเมืองและไม่สามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ซึ่งในการวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึงปัญหาของกระบวนการวางและจัดทำผังเมือง การมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์ในที่ดินในเขตผังเมืองดังกล่าว
       จากการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในโครงการระเบียงเศรษฐกิจหรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีปัญหาในเรื่องกรอบนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน กล่าวคือ มีกฎหมายที่เป็นแนวปฏิบัติหลักอยู่สองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะในการพัฒนาพื้นที่และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่เป็นกฎหมายหลักที่กำหนดนโยบายและขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมือง นอกจากนั้นกฎหมายทั้งสองฉบับยังมีความเหลื่อมล้ำกันในทางปฏิบัติ เช่น เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
       ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อรองรับการจัดผังเมืองในเขตพัฒนาพิเศษและสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ

Author Biography

สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2563). คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2563: ขั้นตอนและกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวม. กรุงเทพฯ: กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย.

ขนิษฐา เทียบจริยาวัฒน์. (2553). การศึกษาแนวทางการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย. (2562). แถลงการณ์ ฉบับที่ 3/2562 ขอให้รัฐบาลทบทวนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC.) และยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 47/2560. [เว็บบล๊อก]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/CPDThai/posts/2543724788979200/

ชัยณรงค์ เครือนวน. (2563). บทวิเคราะห์ของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับโครงการพัฒนาของภาครัฐ EEC. สืบค้นจาก https://wewatchthailand.org/data/2020/06/2684

บทสัมภาษณ์. ภารนี สวัสดิรักษ์. นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง. [เว็บบล๊อก]. สืบค้นจาก http://landwatchthai.org/2920

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม. (2564). เปิดคำฟ้องเพิกถอน “ผังเมือง EEC” : การพัฒนาของรัฐที่ทิ้งประชาชนไว้ข้างหลัง. [เว็บบล๊อก]. สืบค้นจาก https://enlawfoundation.org/recap-eec-2564-01/

สมยศ เชื้อไทย. (2555). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

อนวัช สุวรรณเดช. (2563). แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562. กรมโยธาธิการและผังเมือง.

ilaw. (2562). EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับใคร?. [เว็บบล๊อก]. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28