คุณลักษณะประชากร พฤติกรรมในการป้องกันตนเอง และ การประเมินสุขภาพตนเองของประชาชนในพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูง ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณลักษณะประชากร, พฤติกรรมในการป้องกันตนเอง, พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจข้อมูลด้านคุณลักษณะทั่วไปของประชาชนที่เดินทางในเขตพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูงในกรุงเทพมหานคร 2) สำรวจพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ของประชาชนที่เดินทางในเขตพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูงในกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาผลประเมินด้านสุขภาพของประชาชนที่เดินทางในเขตพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูงในกรุงเทพมหานคร และ 4) ศีกษาความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนที่เดินทางในเขตพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูง ในกรุงเทพมหานคร
งานวิจัยนี้ พบว่า คุณลักษณะของประชาชนที่เดินทางในพื้นที่เสี่ยงสูงในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (คิดเป็นร้อยละ 56) มีอายุอยู่ระหว่าง18 ถึง 25 ปี (คิดเป็นร้อยละ 52) เป็นนิสิตนักศึกษา(คิดเป็นร้อยละ 39) มีรายได้อยู่ระหว่าง 15,001 ถึง 25,000 บาทต่อเดือน (คิดเป็นร้อยละ 36) ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (คิดเป็นร้อยละ 47) และพักอยู่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโด (คิดเป็นร้อยละ 42) ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะสวมหน้ากากอนามัยแบบธรรมดาหรือแบบผ้าเมื่อต้องออกไปกลางแจ้งหรือที่สาธารณะ (คิดเป็นร้อยละ 58.5) เลือกที่จะรับประทานอาหารริมทางตามถนนแม้ในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 (ฝุ่นจิ๋ว 2.5) เกินกว่ามาตรฐาน (คิดเป็นร้อยละ 42) ส่วนใหญ่เลือกใช้รถประจำทางหรือรถตู้ (คิดเป็นร้อยละ 40.7) เลือกทำกิจกรรมในพื้นที่แจ้งประมาณหนึ่งถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ (คิดเป็นร้อยละ 54.2) และส่วนใหญ่จะไม่มีเครื่องกรองฝุ่นจิ๋วในที่อยู่อาศัย (คิดเป็นร้อยละ 78.4)
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีปัญหาความเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจบ่อยครั้งกว่าปัญหาสุขภาพด้านอื่น (=4.02; S.D.=1.01) รองลงมา คือ อาการโรคภูมิแพ้ ( =3.96; S.D.=1.11) และระคายเคืองตา ( =3.96; S.D.=1.01) ถัดมาคือ ภาวะเครียดอันเนื่องจากความกังวลถึงผลกระทบของฝุ่นจิ๋ว ( =3.73; S.D.=1.13) สุดท้ายคือเ กิดผื่นคันตามผิวหนัง ( =3.67; S.D.=1.16)
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2553). กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป. กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. จากhttp://infofile.pcd.go.th/law/2_99_air.pdf?CFID=17460708&CFTOKEN=63440791
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5. ไมครอน (PM 2.5) ปี 2564. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564.จาก https://sbo.moph.go.th/sbo/file/pm/คู่มือการดำเนินงานฝุ่น%20PM2.5%202564.pdf.
กองการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนมกราคม 2563. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564. จากhttps://www.mots.go.th/download/article/article_20200407103037.pdf.
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2564). ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ16 มกราคม 2564. จาก https://www.facebook.com/air4bangkok/posts/761168427850964).
กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2560). แนวโน้มการขยายตัวของที่อยู่อาศัยในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2556-2560. [ออนไลน์], สีบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564. จาก http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000354/plan/report/06.pdf.
กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2561). รายงานการศึกษาประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2561. [ออนไลน์], สีบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564.จากhttp://www.bangkok.go.th/upload/user/00000354/plan/report/04.pdf.
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
เกษวรางค์ ลีลาสิทธิกุล, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์, ศศิภา บูรณะพันธฤกษ์, ขจรศักดิ์ พงษ์พานิช และพัชรี คุณค้ำชู. (2018, July - September). ผลจากหมอกควันและพิษทางอากาศต่อระบบหัวใจและทางเดินหายใจในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. Thammasat Medical Journal. 18(3), 339 – 348.
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563, January – April). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. Journal of the Association of Researchers, 25(1), 461 – 471.
เฉลิม ลิ่วศรีสกุล, แสงนวล ตุงคณาคร และอัชนา เลียวหิรัญ. (2545). ปัญหามลพิษทางอากาศต่อการทำงานของปอด: การศึกษาในตำรวจจราจรในเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร. 41(2), 89- 94.
ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์. (2546). พฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษาและการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข. หน่วยที่ 1-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:บริษัทประชุมช่างจำกัด.
บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล, พยงค์ วณิเกียรติ, อัมพร กรอบทอง และกมล ไชยสิทธิ์. (2563, January - April). ผลต่อสุขภาพของฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน: กลไกก่อให้เกิดโรคและการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(1), 187-202.
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช (2550). ความรุนแรงของปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในเชียงใหม่และลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช, มุทิตา ตระกูลทิวากร, เฉลิม ลิ่วศรีสกุล, สุวรัตน์ ยิบมันตะสิริ และนิมิตร อินปั๋นแก้ว (2550). โครงการระดับรายวันของฝุ่นในอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. จากhttps://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.res.2007.626.
มงคล รายะนาคร. (2553). หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. เอกสารวิชาการ: ชุดความรู้ นโยบายสาธารณะ สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้ กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบาย สาธารณะที่ดี (นสธ.). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์], สืบค้น 30 พฤษภาคม 2564. จากhttp://www.ppsi.or.th/download/ppsi/20160309-048.pdf.
มติชนออนไลน์. (2562). โรงพยาบาลสังกัด กทม. เผย “ฝุ่นจิ๋ว” ทำคนกรุงป่วยทางเดินหายใจแล้วเกือบ 1 หมื่นราย. มติชนออนไลน์. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564. จากhttps://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1334098.
รังสิมา วณิชภักดีเดชา. (2562). PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง (1 มีนาคม 2562). ภาควิชาจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1368.
เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และ อารียา มนัสบุญเพิ่มพูล. (2552). ผลกระทบของหมอกควันต่อการท่องเที่ยว: กรณีจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ต. เอกสารการวิจัย. สนับสนุนโดยสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วงศ์พันธ์ ลิปเสนีย์. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์, ธีระ เกรอต และนิตยา มหาผล (2543). มลภาวะอากาศ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา จีนศาสตร์. (2551). มลพิษอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แวว ขัตติพัฒนาพงษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) กับโรคเยื่อบุตาอักเสบที่โรงพยาบาลดารารัศมี. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(1), 24-31.
ศิวัช พงษ์เพียจันทร์, วรนุช ดีละมัน, โฉมศรี ชูช่วย และณัฐพงษ์ เอียดเต็ม. (2562, มีนาคม-เมษายน). PM 2.5 Source และ Sink ของมลพิษทางอากาศ. ประชาคมวิจัย, 24(144), 5-9.
ศศิธร มะโนมั่น, สุธาวัลย์ พงศ์พิริยะจิต, ปลื้มกมล ชาวนาหุบ, ปฏิภาณ สีสุก, ภาสกร มีมูลทอง, กุลสตรี แย้มมา, วัชรกร โพสกุล และกิตพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์. (2562). ระดับความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11-12 กรกฎาคม 2562, 903-911.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญติสุขภาพพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564. จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/statute50.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. 25 มีนาคม 2563.
เสริม จันทร์ฉาย. (2562, มีนาคม - เมษายน). รู้จักฝุ่น: ฝุ่นพิษมาจากไหน. ประชาคมวิจัย, 24(144), 2-4.
อนุชิต ไกรวิจิตร. (2563). สรุปปริมาณฝุ่น กทม. ตั้งแต่วันที่ 1-24 มกราคม 3563 เป็นอย่างไร (24 มกราคม 2563). The Standard.[ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563. จาก https://thestandard.co/aqi-pm25-1-24-jan-63/.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2563). การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ.
อิสระ มะศิริ. (2561). โครงการการจัดทำแผนที่สถานการณ์มลพิษทางอากาศของประเทศไทย ปี 2560 โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Brook, R.D., & Rajagopalan S. (2017, August). Stressed about air pollution. Circulation, 136(7), 628–631.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York, J. Wiley & sons.
Cong S., Kahn M.E., and Zheng S. (2017, January). Self-protection investment exacerbates air pollution exposure inequality in urban China. Ecological Economics. 131, pp.468-474.
IQAir. (2564). Air quality and pollution city ranking. [Online], Retrieved, January 16, 2021. From https://www.iqair.com/th-en/world-air-quality-ranking.
Li H., Cai J., Chen R., Zhao Z., Ying Z., Wang L., Chen J., Hao K., Kinney PL., and Chen H., Kan H. (2017, August). Particulate matter exposure and stress hormone levels: a randomized, double-blind, crossover trial of air purification. Circulation, 136(7), 618–627.
Mooney C. (2020). The coronavirus is deadly enough but some experts suspect bad air makes it worse. The Washington Post. [Online], Retrieved, January 5, 2021. From https://www.washingtonpost.com/climate-environment/2020/03/15/smoking-air-pollution-coronavirus/.
Ngoc, LTN, Park, D., Lee, Y., & Lee YC. (2017). Systematic review and Meta-analysis of human skin diseases due to particulate matter. International Environmental Research and Public Health, 14(2), 1458-1468.
The World Air Quality Project. (2021). Bangkok Air Pollution: Real-time Air Quality Index (AQI). [Online], Retrieved, January 5, 2021. From https://aqicn.org/city/bangkok/#/w/th.
_______. (2021b). Bangkok Air Pollution: Real-time Air Quality Index (AQI). [Online], Retrieved, May 28, 2021. From https://aqicn.org/city/bangkok/#/w/th.
WHO Global Air Quality Guidelines. (2016). Meeting Report, Bonn, Germany, 29 September – 1 October 2015.
World Bank Group. (2016). Environment, World Development Indicators 2016 (pp. 83-95). International Bank for Reconstruction and Devekopment/ The World Bank. Washington DC. [Online], Retrieved, January 5, 2021. From https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/23969/9781464806834.