ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • อรณิชชา ทศตา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำนวน 335 คน โดยสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของครูผู้สอนแต่ละสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.205 - 0.857 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .974 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
       ผลการวิจัย พบว่า
       1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 อยู่ในระดับมาก ทุก ๆ ด้าน
       2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) อยู่ระหว่าง 0.581 ถึง 0.836
       3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (x1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (x3) และด้านการกระตุ้นให้เกิดเชาวน์ปัญญา (x2) สามารถร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ได้ร้อยละ 50.40 (R Square = 0.504) และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
       gif.latex?{Y}'= 2.065 +.227X1 + .182X3 +.153X2
      gif.latex?{Z}' = .329X1 + .279X3 +.242X2

References

กชนันท์ ศุขนิคม และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 9(3), 104 – 113.

นิตยา นามโส. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 . วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์.(2559).ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์. 8(1), 167 – 182.

ปกรณ์ นามมุนี, เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต และ ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(1), 49-56.

ปริพนธ์ จำเริญพัฒน์. (2560). แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิพัฒน์พงศ์ หมวกไธสง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). โรงเรียน 4.0 โรงเรียนผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: มนตรี.

รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ศรีวรรณ จันทร์เชื้อ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ของข้าราชการและ บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศุภรัตน์ ทิพยะพร. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุริยัน วะนา. (2559). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ.กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2546). การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ (ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อุไรวรรณ คงสิม.(2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Hill, Charles W.L., & Mcshane, Steven Lattimore. (2008). Principles of management. New York: McGraw-Hill

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Education administration: theory research and practice. New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: the art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28