การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนาท้องถิ่น, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีรายชื่ออยู่ในเขตเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 4,583 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ Yammani (1973) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent samples) และ การวิเคระห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของ Scheffe’
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 6.62 อยู่ในเกณฑ์มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านขั้นนำแผนไปปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านขั้นการประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านขั้นตอนการวางแผน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย
3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและระดับการศึกษาของประชาชนส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลต้นคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ผ่องพรรณ เทียมเกาะ และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) ขององค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
พระเอื้อพันธ์ ธมฺมวโร (ยมรัตน์). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
พวงทอง โยธาใหญ่. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรวรรธน์ วรเสฏฐ์ฐากูร. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2563). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.
วฤทธิ์ สารฤทธิคาม. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สำนักงานทะเบียนเทศบาลตำบลต้นคราม. (2562). ข้อมูลงานทะเบียน. สุพรรณบุรี: สำนักงานฯ.
อลงกรณ์ ปราบไพรี. (2545). การจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ. 2545 – 2549) โดยกระบวนการประชาคม: กรณีศึกษาอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row Publications.