การพัฒนาการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ชุดา สุภาพจน์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพ, เตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว 2) ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรมการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ 3) ติดตามผลการพัฒนาการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตจตุจักรและ เขตลาดพร้าว จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและโปรแกรมการพัฒนาการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
       ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาโปรแกรมการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว มีจำนวน 9 กิจกรรม ประกอบด้วยการสำรวจอาชีพที่ตนสนใจ การสำรวจสัมฤทธิ์ผลการสำรวจจุดเด่นและจุดด้อย การค้นหาทักษะ การสำรวจบุคลิกภาพและความสนใจในอาชีพ การสำรวจค่านิยม การสำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น การสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการสรุปความต้องการที่แท้จริงของตนเอง 2) นักเรียนกลุ่มทดลองทั้งโรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยของการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองโรงเรียนในเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าวมีคะแนนเฉลี่ยของการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพระหว่างหลังการทดลองและระยะติดตามผล ไม่แตกต่างกัน

References

กรมการจัดหางาน. (2557). การเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6. กรุงเทพฯ:กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

_______. (2559). คู่มือการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จตุรพร ลิ้มมั่นจริง. (2556). พัฒนาการทางอาชีพ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวอาชีพ. สงขลา: สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2563). การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลป ศาสตร์ประยุกต์. 13 (1), 74-85.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2542). คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ EQ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 5(1), 15 -18.

ไพบูลย์ บุญล้อม. (2555). การพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 8(1), 47 -60.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วชิรวิทย์ มาลาทอง. (2558). ผลของกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประเทือง ทิพย์วิทยา. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal. 8(1), 1108 -1119.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2554). ทฤษฎีบุคลิกภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

สาธร ใจตรง. (2561) . เอกสารประกอบการสอนรายวิชามนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

BBC . (2562). สิงคโปร์นำร่องปรับหลักสูตรมัธยมศึกษาให้นักเรียนเลือกเรียนแต่ละวิชาตามความสามารถหวังผลทั่วประเทศปี 2024. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/international-47471753.

Bronk, K. C. (2011). The role of purpose in life in healthy identity formation: A grounded model. New Directions for Youth Development, 132, 31-44.

Campus –star. (2562, 17 สิงหาคม). โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯ มีเรียนแบบ Track เหมือนเลือกคณะในมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562, จาก https://campus.campusstar.com/variety/113338.html.

Erikson, E.H. (1968). Identity Youth and Crisis. New York. Norton and Company.

Ginzberg, Eli. (1951). Occupational Choice: An Approach to a General Theory. New York: Columbia University Press.

Keumala, E., Nurihsan, J., & Budiamin, A. (2018). The Development of Career Learning Program with Modeling Technique to Improve Student Career Awareness. Islamic Guidance and Counseling Journal, (1), 53-61.

Holland, J. L. (1973). Making vocational choices: A theory of careers. Englewood Cliffs, NJ Prentice-Hall.

Richard, S. Sharf. (2013). Applying Career Development Theory to Counseling. 6th ed. Asia: Cengage Learning.

Super, D. E. (1957). The psychology of careers; an introduction to vocational development. New York: Harper & Bros.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28