ความสำเร็จของการบริหารจัดการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นิศราวรรณ ไพบูลย์พรพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสมัยใหม่, ผู้ประกอบการ, ประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง ความสำเร็จของการบริหารจัดการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) ลักษณะธุรกิจของผู้ประกอบการใหม่สู่ประเทศไทย 4.0 (2) ระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยการบริหารจัดการสมัยใหม่และความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการใหม่สู่ประเทศไทย 4.0 (3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างข้อมูลทั่วไปทางธุรกิจกับปัจจัยการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ที่ได้รับการรับรองเป็นธุรกิจเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 26.0 และ AMOS version 26.0 ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model Analysis: SEM)
       ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ที่ได้การรับรองเป็นธุรกิจเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย ที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างจะประกอบธุรกิจ ในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ร้อยละ 35.2 รองลงมาคือ กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ร้อยละ 20.5 จดทะเบียนธุรกิจในรูปบริษัท คิดเป็นร้อยละ 65.2 ส่วนที่เหลือร้อยละ 34.8 จดทะเบียนในรูปห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลักษณะความเป็นเจ้าของคือเจ้าของถือครองสิทธิ์ถือหุ้นโดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.0 รองลงมาคือร่วมลงทุนจากหุ้นส่วนใหญ่ในเครือญาติ ร้อยละ 17.8 ที่ตั้งของธุรกิจอยู่ในจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นร้อยละ 32.0 รองลงมาคือ จังหวัดร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ 24.8 ตามด้วยจังหวัดมหาสารคาม คิดเป็นร้อยละ 22.0 และจังหวัดกาฬสินธุ์ คิดเป็นร้อยละ 21.2 ตามลำดับ
       รูปแบบของปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการสมัยใหม่ของผู้ประกอบการสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model Analysis: SEM) สมการมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตลอดจนรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการใหม่สู่ประเทศไทย 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย ปัจจัยการบริหารการจัดการสมัยใหม่ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยข้อมูลทั่วไปทางธุรกิจมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการใหม่สู่ประเทศไทย 4.0 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2563, จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/search/search2.html

มาร์เก็ตเธียร์ทูเดย์. (2560). 4 ความต่างระหว่าง STARTUP กับ SME. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560, จาก http://marketer.co.th/archives/84084

สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579). สืบค้น 25 เมษายน 2560 จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/industry_plan/thailandindustrial developmentstrategy4.0.pdf

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2561). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2561-2562. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

Ghandour, A. (2009). Electronic commerce among SMEs. Hershey, PA: IGI Global.

Ghandour; et al. (2007). “Effect on Item Reliability and Discrimination of Conventional Versus Complex” All - of - the - above” and “none - of - the - above” Multiple Choice”, Dissertation Abstracts International.

Hu. ,W. & Wall, G. (2005). Environmental management, environmental image and the competitive tourist attraction. Journal of Sustainable Tourism, 3(6), 617-635.

Huang, J., Wang, H. & Zhao, C. (2005). E-commerce success factors: Exploratory and empirical research on the Chinese publishing industry. England: Cambridge Scholars.

Kvainauskaite, V., Sarapovas, T. & Cvilikas, A. (2005). Selection and assessment of e-commerce models in SMEs. Engineer Economics, 4(44), pp.64-70.

Rotchanakitumnuai, S. & Speece, M. (2003). Barriers to Internet banking adoption: a qualitative study among corporate customers in Thailand. International Journal of Bank Marketing, 21(6/7), 312-323.

Ryn, K., Lee, H-R, & Kim, W.G. (2012). The influence of the quality of the physical environment, food, and service on restaurant image, customer perceived value, customer satisfaction, and behavioral intentions. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 24(2), 200-223.

Xuan, W., Xu, J. & Quaddus, M. (2014). Factors of successful e-tailing in China’s retail industry: A case study [Online]. Retrieved September 18, 2015, from: http://www.acis2007.usq.edu.au/assets/papers/58.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28