ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 ของผู้สอนสาขาคอมพิวเตอร์ รายวิชาระบบคอมพิวเตอร์และการซ่อมบำรุง ในกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์ พลคชา คอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, การเรียนการสอนสมัยใหม่, แรงงาน 4.0

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 2) ระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่และความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างข้อมูลทั่วไปทางจัดการสอนกับปัจจัยการจัดการสอนสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการสอนสมัยใหม่ของผู้สอนสู่แรงงาน 4.0 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้สอนรายวิชาระบบคอมพิวเตอร์และการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2563 สถาบันศึกษาของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
       ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
       1. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 คือ การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านทางระบบ Video Conference ร้อยละ 67.0 รองลงมา คือ การเรียนการสอนแบบ On–demand ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานศึกษา ร้อยละ 17.8 และการเรียนการสอนตามปกติ ร้อยละ 15.3
       2. ระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยการจัดการสอนสมัยใหม่และความสำเร็จในการการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ มีวิสัยทัศน์ มองเห็นโอกาสในความสำเร็จจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่แรงงาน 4.0 รองลงมา คือ สามารถบริหารโดยจัดเวลาการเรียนที่ยืดหยุ่นแต่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีการบริหารจัดการประสิทธิภาพ
       3. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างข้อมูลทั่วไปทางการจัดการสอนกับปัจจัยการจัดการสอนสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการสอนสมัยใหม่ของผู้สอนสู่แรงงาน 4.0 พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กัญชพร ค้าทอง และ ประยุทธ ชูสอน. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(3), 446-460.

โกเมศ แดงทองดี. (2559). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, (1), 1-6.

ฐิติพร พิชญกุล และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนานักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3), 56-70.

ปุณฑริก สมิติ. (2560). ปลัดแรงงานสู่ยุค 4.0 สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 จาก https://www.posttoday.com/politic/report/480574

เลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2561). รูปแบบการจัดการศึกษาวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 : การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(2), 257-269.

วรอนงค์ โถทองคำ. (2558) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทฤษฎีองค์การสมัยใหม่โดยใช้วิธีการสอนด้วยแผนที่ความคิด.วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1), 84-93.

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(3), 213-224.

หฤทัย อนุสสรราชกิจ และคณะ. (2561). กระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3), 210-221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28