การพัฒนาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา วงศ์อนุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อุมาพร ยุวชิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ , คำปรากฏร่วมจำเพาะ , การเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากภาพประกอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จากโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 19 คน ซึ่งได้รับการยินยอมให้เก็บข้อมูลโดยมิได้บังคับ เป็นการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ 2) แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ 3) แบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจากสื่อภาพประกอบ ผลรวมของแบบฝึกทักษะฯ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.28/86.84 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ได้กำหนดไว้ 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ หลังทดสอบมีค่าเฉลี่ย  = 9.84 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.71 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ = 5.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ ผลรวมของแบบฝึกทักษะฯ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.28/86.84 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ได้กำหนดไว้ 80/80 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำปรากฏร่วมจำเพาะจากสื่อภาพประกอบ พบว่าอยู่ใน ระดับ มาก (gif.latex?\overline{X} = 4.12)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณภัทริน เภาพาน. (2554). การศึกษาผลของการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา จากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สําหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2548). ศาสตร์องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสินี จุลเจิม และธัญภา พลานุกูลวงศ์. (2560). ประสิทธิผลของการสอนคำปรากฏร่วมประเภทคำศัพท์ต่อความรู้ ด้านคำปรากฏร่วมของนักเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12 (ฉบับพิเศษ): 112-125.

วงศ์เดือน คุณพิภาค. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านและการเขียน เจตคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิสาข์ จัติวัตร์.(ข). (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ (Teaching English Reading Comprehension). พิมพค์ร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรพร ศัตรวาหา, ธนวิทย์ ไชยสุข, และกันตภณ สำแดงเดช. (2559). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะคำ ศัพท์จากบทเรียน Smart junior 4 ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นตามหลักกลวิธีช่วยจำ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(1): 189-199.

อาพันธ์ชนก สวนจันทร์. (2558). การพัฒนาความ สามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่5 โรงเรียนวัดบางน้อย (แจ่มประชานุกูล). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Blachowicz, C. and Fisher, P. J. (2005). Integrated Vocabulary Instruction: Meeting the Needs of Diverse Learner in Grades K – 5. Illinois: Learning Point Associates.

Boonyasaquan, S. (2006). The Lexical Approach: An Emphasis on Collocations [online]. Journal of Humanities, 28, 98-108.

Chomsky, N. (1964). Current Issues in Linguistic Theory. The Hague: Mouton.

Crystal, D. (2003). English as a Global Language. 2nd ed., Cambridge: Cambridge University Press.

Gairn, R. and Redman, S. (2006). Working With Word: A Guide to Teaching and Learning Vocabulary. Cambridge: Cambridge University Press.

Richards, J.C. and Schmidt, R. (2002) Longman Dictionary of Language Teaching & Applied Linguistics. 3rd ed., Essex: Pearson Education, Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29