การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคตะวันออกของไทย
-
คำสำคัญ:
ระบบพี่เลี้ยงการวิจัย, สถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลงานวิจัยของอาจารย์ เพื่อพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัยของอาจารย์ และ เพื่อประเมินระบบพี่เลี้ยงการทำวิจัยที่พัฒนาขึ้น ประชากรครอบคลุมสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออก 23 สถาบัน เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณาจารย์ด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน(what is) และสภาพที่คาดหวัง (What should be) ในการประเมินความต้องการจำเป็นด้านการทำวิจัยของคณาจารย์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 311 คน ผลวิจัย พบว่า ดัชนีความต้องการจำเป็น(PNI) ของคณาจารย์โดยสรุป ความต้องการจำเป็น 10 ลำดับแรก ในการทำวิจัยของคณาจารย์ตามลำดับ ได้แก่ 1) การเผยแพร่ผลงานวิจัย 2) เขียนบทความวิจัย 3) การสร้างเครื่องมือวิจัย 4) การหาคุณภาพเครื่องมือ 5) การเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย 6) การเขียนรายงานวิจัยฉบับเต็ม 7) การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 8) การอภิปรายผลวิจัย 9) เขียนบรรณานุกรม ภาคผนวก และ 10)การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ระบบพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นมีผลประเมิน กิจกรรมของระบบมีผลประเมินระดับมากที่สุด จำนวน 3 รายการ ระดับมาก จำนวน 12 รายการ โดยมีคะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักวิจัยและพัฒนา รองลงมาเป็น การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยตามมาตรฐาน วช., การอบรมเชิงปฏิบัติการ (in-house training), การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง, การตรวจสอบผลงาน (Peer review) ผลการทดลองใช้ระบบปีการศึกษา 2563 มีผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ดำเนินการได้เสร็จสิ้น และบทความได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง จำนวน 65 เรื่อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualifications Framework for Higher Education) (TQF:HED). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาการศึกษา. (2558). เสวนาแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาการศึกษา. รายงานการประชุม. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 – 2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค.
เบ็ญจมาศ อินทร์ฤทธิ์. (2556). การนิเทศการศึกษาด้วยกระบวนการสอนแนะ (Coaching) และพี่เลี้ยง (Mentoring) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนในโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามศักยภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. สืบค้นจาก : https://sites.google.com/site/benjasingburi/ngan-wicay-coaching-khru-khnit.
พงศ์เทพ จิระโร. (2561). การวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พรทิพย์ เกยุรานนท์. (2555). ปัญหาและข้อบกพร่องในการวิจัยที่พบ. จุลสารสาขาววิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ฉบับที่ 4 ปี 2555.
สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2537, มกราคม-มิถุนายน). การสอนแบบResearch Based Learning. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 6, หน้า 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.