แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชน

ผู้แต่ง

  • ภิรมย์พร สุขชัยศรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชัยวุฒิ จันมา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, สถานศึกษาอาชีวะเอกชน, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชน เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์การดำเนินการวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ทาง ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารของสถานศึกษาอาชีวะเอกชน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตาม Delphi technique ด้านสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาอาชีวะเอกชน และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมจากเอกสารสิ่งพิมพ์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รายงานจากหน่วยงานภาครัฐ และสำนักงานวิจัย โดยนำข้อมูลดังกล่าว มาทำการวิเคราะห์ SWOT analysis ตามแนวคิดของ Humphrey (1960) และนำผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายใน (Internal factors analysis summary หรือ IFAS) และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายนอก (External factors analysis summary หรือ EFAS) เพื่อนำมาประเมินปัจจัยภายในสถานศึกษาอาชีวะเอกชน (Internal factor evaluation matrix) และปัจจัยภายนอกสถานศึกษาอาชีวะเอกชน (External factor evaluation matrix) หรือ IE Matrix ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการดำเนินการวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการ หมายถึง ผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวะเอกชน ได้แก่ ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนจำนวน 220 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis: MRA) เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชน

         ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของปัจจัยการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\overline{X}= 3.79 และ S.D. = .356) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ลำดับแรก ด้านระบบการทำงาน (system) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{X}= 3.80 และ S.D.= .376) รองลงมาด้านรูปแบบการบริหารจัดการ (Style) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{X} = 3.79 และ S.D.= .383) และระดับความคิดเห็นของประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{X} = 3.79 และ S.D.= .326) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ลำดับแรก ด้านการสร้างวัตกรรมการบริหารจัดการอาชีวศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{X} = 3.80 และ S.D.= .351) รองลงมาด้านระบบประกันคุณภาพในการอาชีวศึกษาทุกระดับการศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{X} = 3.80 และ S.D.= .344) และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (MRA) พบว่า ปัจจัยการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวมอธิบายการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวม ได้ร้อยละ 83.9 (adjusted R2 = .839) ในขณะที่ปัจจัยการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนด้านกลยุทธ์องค์กร (strategy) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนด้านโครงสร้างองค์กร (structure) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวม พบว่า ปัจจัยการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนด้านกลยุทธ์องค์กร (Strategy) มีน้ำหนักมากสุด (beta = .235) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสถานศึกษาอาชีวะเอกชนโดยรวม

References

ก้านทิพย์ ชาติวงศ์. (2554). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเอกชนอาชีวศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ขจรศักดิ์ อินทรโสภา. (2557). รูปแบบการบริหารการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนสู่ประชาคมอาเซียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร:สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานฯ.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักงานฯ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. สำนักงานฯ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสอง (2549 - 2553) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานฯ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2559). รายงานการประเมินคุณภาพ ภายนอกสถานศึกษารอบสาม (2554 - 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานฯ.

อัญชลี วิมลศิลป์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อสงเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตลาดวิชา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Gray, B., & Stites, J.P. (2013). Sustainability through partnerships: capitalizing on collaboration. Network for Business Sustainability. www.nbs.net /knowledge.

Humphrey, Albert S. (1960). SWOT analysis. research work on corporate planning conducted at Stanford Research Institute, United States.

Krasnoff, Basha. (2019). Estimating the effect of leaders on public sector productivity: the case of school principal. Department of Education, Northwest the NWCC provides high-impact training and technical assistance to state education agencies in the Northwest states of Alaska, Idaho, Montana, Oregon, and Washington.

Tracy L. Ford. (2010). Elementary Principals Use of 21st Century Technology in Schools in New York State. School of Education. The Sage Colleges.

Tonkin, Anne. (2016). Leading Schools for Innovation and Success: Five case studies of Australian principals creating innovative school cultures. [Unpublished doctoral dissertation]. The University of Melbourne.

Victor S. Tan, L. (2017). 10 Attitudes for 21st century leaders. Journal of Nashonbatchasima College, 11(3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29