การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ณัฐวัฒน์ วรรณชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก
  • ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก

คำสำคัญ:

การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษา, ระบบสุริยะ, กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการใช้บอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสร้างและ หาประสิทธิภาพบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาผลการใช้บอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผาเวียง จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการใช้บอร์ดเกมการศึกษา แบบสอบถามเพื่อประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของบอร์ดเกมการศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบอร์ดเกมการศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบอร์ดเกมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\overline{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

       จากการพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
       1. นักเรียนโรงเรียนบ้านผาเวียง มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบการใช้บอร์ดเกมการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
       2. ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านความสอดคล้องและความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีความสอดคล้องและความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ วิธีการเล่นเกมนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ขนาดของกระดานบอร์ดเกมสามารถเก็บและเคลื่อนย้ายได้สะดวก และความเหมาะสมของระยะเวลาในการเล่นเกม
       3. ผลการศึกษาการใช้บอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ระบบสุริยะ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 16.58 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.08 บอร์ดเกมการศึกษามีประสิทธิภาพ 82.21/82.89 และนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกวลิน ผังดี และพิมพ์รดา ครองยุต. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสถิติ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จงจิต แก้วพา. (2564). ก้าวแรกแห่งความคิดสู่โลกวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/306599.

จารุโส สุดคีรี. (2564). การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/314162.

ธนเทพพร เดชประสาท. (2558). การประยุกต์ใช้เกมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการส่งเสริมกระบวนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมในหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี สำหรับนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนวัดสุวรรณาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภาศรี สงสัย และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2563). การศึกษาการศึกษาผลการใช้บอร์ดเกมประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปริญญา อุบลกาญจน์. (2553). การสร้างชุดฝึกทักษะแบบใช้เกมการศึกษา เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 22 (ใต้ร่มเย็น). วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ฝ่ายวิชาการ, โรงเรียนบ้านผาเวียง. (2563). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานวิชาการ. สุโขทัย : บ้านผาเวียง.

วปริญธิดา โพธิ์พะนา. (2562). การพัฒนาบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความสามารถในวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมจิต จุนจุฬา. (2551). ผลการใช้บอร์ดเกมที่มีต่อการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิริอร วิชชาวุธ. (2544). จิตวิทยาการอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

อัชรีพร มณีวงษ์. (2545). เล่นผ่านเกมดีอย่างไร. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. 2546.

อินธิรา จุลภมรศรี. (2556). การใช้เกมการศึกษาเรื่องหลักภาษาเพื่อการ. จัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุดมลักษณ์ โอฬาร. (2664). ความสำคัญของบอร์ดเกม. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-237822.

Boardgamegeek. (2021). Board Game Geek. Searched on 21 August 2021. Retrieved from http://boardgamegeek.com.

Gagne', Roberts.M. (1987). Instructional Technology Foundations. New Jersey: Lawrence Erbium Associates.

Gardner, H. (1999). Intelligence Reframed. Multiple Intelligences for the 21st Century. Basic Books.

Seapig, Ngkaye. (2021). ประเภทของบอร์ดเกม ep.2 Family Garnes. Searched on 21 August 2021. Retrieved from http://www.tomwong. com/?p=1658.

Silverman, D. (2021). How to learn board game design and development. Searched on 21 August 2021. Retrieved from http://gamedevelopment.tutsplus.com/articles /how-to-learn-board gamedesign -and-development--gamedev-11607.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29