การจัดการองค์กรสู่องค์กรแห่งความสุข เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานองค์กรเอกชน
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อระดับองค์กรแห่งความสุขและระดับองค์กรแห่งความสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กร โดยศึกษาจากพนักงานในองค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 181คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อระดับองค์กรแห่งความสุข พนักงานเห็นว่าการสรรหาส่งผลทางบวกต่อระดับองค์กรแห่งความสุขมากที่สุด รองลงมาคือการฝึกอบรมและพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานแรงงานสัมพันธ์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และความปลอดภัยและความสุข ส่วนค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์และการคัดเลือก ไม่ส่งผลต่อระดับองค์กรแห่งความสุข และค่าปัจจัยทั้ง 6 ตัว สามารถรวมกันอธิบายความระดับองค์กรแห่งความสุข ได้ร้อยละ 63.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ส่วนระดับองค์กรแห่งความสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร พนักงานเห็นว่าการหาความรู้ ส่งผลบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กรมากที่สุด รองลงมาคือการปลอดหนี้ การมีสุขภาพดี การมีน้ำใจงาม และ ครอบครัวดี ส่วนจิตวิญญาณดี สังคมดี ผ่อนคลายดี และการงานดี ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร และค่าปัจจัยทั้ง 5 ตัว สามารถรวมกันอธิบายความระดับองค์กรแห่งความสุข ได้ร้อยละ 86.20
References
กฤษฎา บุญชัย. (2563). วิกฤติโควิดกับจุดเปลี่ยนของชุมชนท้องถิ่น. สืบค้น 20 มกราคม 2564 จาก https://thaipublica.org/2020/04/kritsada-boonchai-14/.
จักรพันธ์ จันทรัศมี. (2563). ลงทุนในคนอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด. สืบค้น 24 เมษายน 2565 จากhttps://www.thebangkokinsight.com/.
ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ. 7(1). 17-28.
พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์. (2564). ยกระดับขีดความสามารถ เรื่องเร่งด่วนในยามวิกฤต. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก https://www.thebangkokinsight.com/.
ศศิธร เหล่าเท้ง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). อิทธิพลของกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร ตามแนวทางความสุข 8 ประการ ที่มีต่อความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 7(2), หน้า 988-1006.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย. (2553). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว. รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (มปป). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.จาก https://www.sdgmove.com/aboutsdgs/.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). การสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กร ระดับประเทศ ปี 2564. โครงการวิจัยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรและความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
สรรเสริญ วงษ์ชอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564). Workplace Happiness วิธีสร้างความสุขในการทำงานให้ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565. จาก https://th.hrnote.asia/tips/workplace-happiness-210708/.
สุวีณา ไชยแสนย์, สีดา สอนศรี และวสันต์ เหลืองประภัทร์. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 6(1), หน้า 167-183.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์. (2562). รายงานผลการวิจัยเรื่องการสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงานโดยการสร้างสมดุลยภาพระหว่างชีวิตและการทำงานด้วยการปรับระบบเวลาการทำงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ออนไลน์). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 . สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565.จาก: http://www.nesdb.go.th.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (มปป). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 . สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565. จาก: http://www.nesdb.go.th.
อภิชญา ฉกาจธรรม. (2563). เคล็ดลับบริหารคนจาก 3 บริษัทที่พนักงานมีความสุขติดอันดับโลก. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565.จาก https://brandinside.asia/.
Armstrong, M., (2009). Armstrong's handbook of human resource management practice. 11th ed. London and Philadelphia: Kogan Page.
Cronbach, L. J., & Shavelson, R. J. (Ed.). (2004). My Current Thoughts on Coefficient Alpha and Successor Procedures. Educational and Psychological Measurement. 64(3), pp.391–418.
Johnason, P. (2009). HRM in Changing Organizational Contexts. In Collings. D. G. & Wood. G, (Eds.), Human Resource Management: A Critical Approach (pp. 19-37). London: Routledge.
Kaplan, Robert S. and Norton, David P. (2001). Beyonds Balanced Scorecard: the strategic-Focused Organization. Boston: Harvard Business School Press.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology. 22(140), p.55.
Peterson, E; & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd Ed.). Ill: Irwin.
Wayne, Mondy R., Noe, Robert M. and Premeaux, Shane R. (1999). Human Resource Management. 7th Ed. New Jersey: Prentice-Hall. Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.