เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา: การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ

ผู้แต่ง

  • สุรพล บุญลือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

จักรวาลนฤมิต, เสมือนจริง, ห้องเรียนเสมือนจริง, จักรวาลนฤมิต, เสมือนจริง,ห้องเรียนเสมือนจริง,การเรียนรู้แบบดื่มด่ำ

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบันเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณของการเข้าถึงทำได้อย่างมากมายและรวดเร็ว ทำให้เกิดการแปรปรวน (Disruptive) จากความเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดชีวิตในรูปแบบใหม่ การทำงานแบบใหม่ อาชีพใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ โลกไม่มีขอบเขตในเรื่องของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาเทคโนโลยีก็เข้าไปถึงอย่างรวดเร็วในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดการผสานระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน นับวันยิ่งมากเท่าทวีคูณ เกิดการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโลกในลักษณะของอภิมหาจักวาล โลกที่พ้นขอบเขตหรือจักรวาลที่ไม่มีขอบเขต (Metaverse) เป็นการเชื่อมโยงผู้คนที่อยู่ห่างไกลกัน เข้ามาอยู่ในโลกเสมือนและทำกิจกรรมเสมือนได้อยู่ในที่เดียวกัน ตามแนวคิดนี้ทางการศึกษาได้มีการนำมาใช้หลากหลาย เช่น ห้องเรียนเสมือนจริง ที่สอนโดยใช้สภาพแวดล้อมออนไลน์ในอินเทอร์เน็ต นำเอานักเรียนและครูมาพบกัน ทำกิจกรรมการเรียนรู้การเรียนการสอน และสื่อสารกันได้นานแล้ว ในบทความฉบับนี้จะอภิปรายความเป็นมาของเทคโนโลยีเสมือนจริง และการเรียนแบบเสมือนจริงในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อให้นักการศึกษาได้เห็นแนวทางที่จะนำเทคโนโลยีแบบเมตาเวิร์ส ที่สามารถสร้างความเสมือนนำ มาใช้เพื่อให้เกิดเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ไม่หยุดยั้ง แต่การสร้างความเสมือน คงจะยังไม่เหมือน ความจริงไปทั้งหมด

References

พีระวัฒน์ อัฐนาค. (2558). ทำความรู้จัก Mr.Immersive กราฟิกข่าวไทยรัฐทีวี. สืบค้นจาก:https://www.youtube.com/watch?v=eVRWRhvrnkM.

ศรีศักดิ์ จามรมาน. (2551). นโยบายวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. เอกสารประกอบการบรรยาย เอกสารประกอบการบรรยายแก่ฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล 30 กรกฎาคม 2551 ณ อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2539). พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2539. สืบค้นจากhttp://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/71.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา,(2564). ‘คณะกรรมการ จัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย’ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/tech/2257090.

สิรวิชญ์ สิงหาพล. (2564). นีล สตีเวนสัน มนุษย์คนแรกที่นิยาม Metaverse. สืบค้นจาก https://thepeople.co/neal-stephenson-metaverse-snow-crash/.

Amazing Before & After Hollywood VFX – Avatar. (2563). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=VWB6lnnYFlc&t=127s.

Application VR in Surgery THE GOOD DOCTOREPISODE 9. (2564). สืบค้นจาก https://youtu.be/cbPRDw5dOFI).

Milgram, P., Kishino, F., December (1994, December). A taxonomy of mixed reality visual displays E77-D (3). IEICE Transactions on Information Systems. 77(12).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29