โมเดลการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการในการบริหารสถานศึกษา ต้นศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • พิมล ป้องเรือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุธิดา หอวัฒนกุล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการในการบริหารสถานศึกษาต้นศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาโมเดลคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการในการบริหารสถานศึกษาต้นศตวรรษที่ 21 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล และ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำโมเดลไปใช้จริง

         การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12,291 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนสุ่มได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 โรงเรียน ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น 2) การพัฒนาโมเดล 3) การทดสอบประสิทธิภาพของโมเดลและ 4) การประเมินความเหมาะสมในการนำโมเดลไปใช้จริง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ค่ามัฐยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

         ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำสูงสุด คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (PNIModified = 0.37) รองลงมาคือด้านคุณลักษณะผู้นำ (PNIModified = 0.24) และด้านการบริหารงานวิชาการ (PNIModified = 0.16) 2) การพัฒนาโมเดล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ความคิดเห็นรายด้านดังต่อไปนี้ (1) ด้านคุณลักษณะผู้นำ ค่า Mdn. = 4.0, I.R. = 0 (2) ด้านการบริหารงานวิชาการ Mdn. = 4.1, I.R. = 0. (3) ด้านการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Mdn. = 4.5, I.R. = 0) พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกด้านเมื่อพิจารณาจากค่ามัธยฐานมีค่าตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์มีค่าตั้งแต่ 1.60 ลงมา 3) การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ  85/85  ค่าดัชนีประสิทธิผล = 0.73  4) การประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.57 พบว่าค่าความน่าจะเป็น p = .004 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมล รอดคล้าย. (2559). สภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ 1. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded /Outstand/OECForum-01.pdf.

กัญญามน อินหว่าง. (2555). การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์เพื่อการพัฒนาองค์การ. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562. จาก http://www.thaihealth.or.th/blog/23056.

กัญญามน อินหว่าง. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำทางวิชาการที่มีผลต่อประสิทธิผลการ บริหารวิชาการของผู้บริหารระดับคณะวิชาใน มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการราชภัฎ ตะวันตก. 7 (2), หน้า 5-17.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2553). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์. 5,3: 7 – 20.

_______. (2556). คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชุติมา เจริญผล. (2560). การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2562). ผลประเมิน PISA 2018: คะแนนนักเรียนไทยอยู่จุดไหนในเวทีนานาชาติ. [ออนไลน์]. จาก https://thestandard.co/pisa-2018-2/.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2549). Smarter meeting: เทคนิคการประชุมเหนือชั้น. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทองฟู สิริวงษ์. (2536). การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนวัฒน์ ภิรมย์ไกรภักดิ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

นภาภร ส่งแสง. (2561, กันยายน - ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การติดตามและประเมินแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(3).

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรนค์พิเชฐ แห่งหน. (2560, มากราคม-เมษายน). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 10(1).

พิศสมัย อรทัย และศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. (2555, กรกฎาคม-กันยายน). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการจัดการศึกษาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารสภาการพยาบาล. 27(3).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). โรงเรียน 4.0 โรงเรียนผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.

รัตนา ปฏิสนธิเจริญ. (2555). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย เทียนถาวร. (2562). คนรุ่นใหม่กับพัฒนาการเมือง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1375571.

วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นําทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมหวัง ว่องไวไพศาล. (2560). การบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมเกียรติ บุญรอด. (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สสวท. (2562). ผลการสอบ PISA 2018. สืบค้นเมื่อ 16ธันวาคม 2562 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/keywords/results/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ8 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.edulpru.com/eu/21st/st-010.pdf.

_______. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชญา ศรีอริยะกุล. (2558). คุณลักษณะผู้นำกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริหารสถานศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2558). ประเทศไทย 4.0 ผลึกความคิดฐานเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. สื่บค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562 จาก ww.thansettakij.com.

อังค์วรา วงษ์รักษาและคณะ. (2564, มกราคม - เมษายน). ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการประเมินหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี: การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 13(1).

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2550). โครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่เดินทางตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.).

Bittel, L. R. (1978). Encyclopedia of Profession Management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29