ปัจจัยลักษณะองค์การและความต้องการจำเป็นของการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรพนิต ลิ่มสุวรรณโรจน์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชัยวุฒิ จันมา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารองค์การ, นวัตกรรมการศึกษา, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษาจำแนกตามลักษณะองค์การ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ของการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษา 4) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารองค์การสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การนวัตกรรมการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนำร่อง จำนวน 208 แห่ง และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กับผู้อำนวยการสถานศึกษานำร่องและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ของผู้บริหารที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับการบริหารองค์การนวัตกรรมด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และลำดับความพร้อมโดยพิจารณาจากค่าความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ในการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษา จากระดับความพร้อมน้อยไประดับความพร้อมมาก คือ การบริหารงานบุคคล (PNI Modified = 0.23) การบริหารงานวิชาการ (PNI Modified = 0.22) การบริหารงานทั่วไป (PNI Modified = 0.21) และการบริหารงานงบประมาณ (PNI Modified = 0.18) ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อการเป็นองค์การนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ การเพิ่มความพร้อมในการบริหารองค์การนวัตกรรมการศึกษา โดยเน้นการบริหารงานวิชาการและการบริหารงานบุคคล.

References

พระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 56 ก, 102-120.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: รายงานการวิจัยและพัฒนา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพ์ใจ ปั้นรอบรู้ และ อโนทัย ประสาน. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 13(2): 191-200.

พิมล ป้องเรือ และ สุธิดา หอวัฒนากูล. (2565). โมเดลการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการในการบริหารสถานศึกษาต้นศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 11(1), 123-134.

ภารดี อนันต์นาวี. (2564). องค์กรนวัตกรรมทางการศึกษา: การบริหารจัดการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 10(2), 10-21.

วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร ศรีขาวรส; กฤตยากร ลดาวัลย์; และ วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมณีเชษฐาราม. 3(2): 37-50.

สมเกียรติ ตุ่นแก้ว; และ พูนชัย ยาวิราช. (2564, กันยายน-ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษาสำหรับโรงเรียน XI GUAN มณฑลยูนนาน ประเทศจีน. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์. 4(2), 34-49.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). ความเป็นมาขององค์กร (Organization). สำนักงานฯ.

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. รายชื่อสถานศึกษานำร่อง. https://www.edusandbox.com/.

สิณีณาฏ อารีย์; และคณะ (2565, มกราคม). Sandbox: หลักการและแนวคิดสำหรับการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(1): 166-181.

สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อำพา แก้วกำกง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ. (2560). การกระจายอำนาจทางการศึกษาจากนโยบายสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้. วารสารพระปกเกล้า. 49069.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. www.parliament.go.th/library.

สุวิมล ว่องวานิช.(2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หยัด ขจรเกียรติผดุง, เพิ่ม หลวงแก้ว และ กำพล วันทา (2563). เรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา. วารสารปัญญาปณิธาน. 5(1), 255-267.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ . (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 6(2), 93-104.

Cronbach, L. J. (1970). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis 2 nd Ed. Harper & Row.

World Economic Forum. (2018). The future of jobs report 2018. Insight Report, Centre for the New Economy, and Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29