ผลของการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติที่มีต่อพฤติกรรมความเชื่อมั่น ในตนเองของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส (แสนสวัสดิ์วิทยาคาร) จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง, การจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ , เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส (แสนสวัสดิ์วิทยาคาร) จำนวน 27 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2/1 จำนวน 14 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบแผนการทดลองเป็นแบบอนุกรมเวลา กลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1 และแบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติมีแนวโน้มสูงขึ้น
References
จารุวรรณ อำนวยสมบัติ. (2555). ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่ำโดยได้รับการสอนด้วยการเรียนรู้ภาษาชุมชนประกอบการจัดกิจกรรมแบบ CIRC กับการสอนแบบเดิม. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จีรนะ ดวงภูเมฆ. (2561) การพัฒนาการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติเพื่อในส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. ด่านสุทธาพิมพ์.
พนิดา จงสุขสมสกุล. (2561). สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัทฐรินทร์ โลหา และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ภิญญาพัชญ์ ภูวงศ์ และ ศิริพงษ์ เพียศิริ. (2560) การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้านไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมธาวี จำเนียร. (2564). การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ. 10 (2), 1-9.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2556). เกมและการละเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย. ฟิสิกส์เซนเตอร์.
สมพร พลอยงาม. (2559). การศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรดาพิณ เริงพานิช. (2555). ผลของการใช้กิจกรรมการเล่านิทานแบบไม่จบเรื่องที่มีต่อพฤติกรรมทางจริยธรรมของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559) จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Zimmerman, M.A., & Rappaport, J. (1988). A citizen participation, perceived control, and psycho-logical empowerment. American Journal of Community Psychology. 16, 725-750.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.