การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือโรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางสังคม, การจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือ, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุ 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์) จำนวน 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ จำนวน 13 คน การวิจัยนี้เป็นแบบเชิงทดลอง แผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือมีค่าความสอดคล้องที่ 0.67-1 และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบร่วมมือมีแนวโน้มสูงขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช พ.ศ.2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2563, มีนาคม - เมษายน). วารสาร Journal of modern learning development. 5 (2) 2563.
ณัฐพร สุดดี. (2562). ทักษะและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กเล็ก. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนากร เทียมทัน. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งโดยใช้วัสดุท้องถิ่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นารีรัตน์ จันทวฤทธิ์. (2561). ผลของพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 โรงเรียนอนุบาลบงกชเพชรมณี จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศุภพล คำชื่น และ นันทิชา หาสุนทรี. (2563, กรกฏาคม -ธันวาคม). การทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 9(2), 102-115.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2561). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ คอร์เนอร์.
สุปราณี แก้วขุมเหล็ก. (2559). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่12). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.